http://dlcd2.igetweb.com
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com

 หน้าแรก

 บทความ

 รวมรูปภาพ

 เว็บบอร์ด

 ติดต่อเรา

สถิติ

เปิดเว็บ22/04/2015
อัพเดท01/11/2017
ผู้เข้าชม29,291
เปิดเพจ44,506
สินค้าทั้งหมด10

ข้อมูลทั่วไป

ข้อมูล พช. ดงหลวง

งานบริการ/ภารกิจ

กิจกรรมเด่น

องค์ความรู้ชุมชน

VDR / TDR

หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง

ภาคีเครือข่าย

โครงการแก้จน

ข้อมูลพื้นฐานหมู่บ้าน

เชื่อมโยงลิงค์

สินค้า

 สินค้า OTOP

ปฎิทิน

« April 2024»
SMTWTFS
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930    
iGetWeb.com
AdsOne.com

รายงานการพัฒนาหมู่บ้าน (VTR) บ้านป่าไม้พัฒนา

รายงานการพัฒนาหมู่บ้าน (VTR) บ้านป่าไม้พัฒนา

รายงานการพัฒนาหมู่บ้าน (VDR)

ส่วนที่ ๑

                               สภาพทั่วไปของหมู่บ้าน

     ประวัติศาสตร์ชุมชน

         บ้านป่าไม้พัฒนา  หมูที่  10  เดิมมีพื้นที่อยู่ในแนวเขตป่าสงวน  ราษฎรส่วนใหญ่บุกรุกพื้นที่ป่าเพื่อทำการเกษตร  จึงเป็นชนวนก่อให้เกิดข้อพิพาทระหว่างสำนักงานป่าไม้กับประชาชนบ้านป่าไม้พัฒนาอยู่เป็นนิจ  ดังนั้นเพื่อลดปัญหาความความขัดแย้งดังกล่าว  กรมป่าไม้จึงจัดสรรพื้นที่ทำกินและพื้นที่อยู่อาศัยให้ทุกครัวเรือน  ครัวเรือนละ  14  ไร่  2  งาน  ราษฎรส่วนใหญ่เป็นกลุ่มพัฒนาชาติไทย

          ต่อมาเมื่อ  ปี พ.ศ. 2530  ทางราชการให้มีการเลือกตั้งผู้ใหญ่บ้านขึ้น  ผลปรากฏว่า  นายทัน  พรมพินิจ  ได้รับเลือกเป็นผู้ใหญ่บ้านคนแรก 

       สภาพทั่วไป

บ้านป่าไม้พัฒนา หมู่ที่ 10 ตำบลกกตูม อำเภอดงหลวง จังหวัดมุกดาหาร ตั้งอยู่ในพื้นที่การปกครองของเทศบาลตำบลกกตูม ห่างจากที่ว่าการอำเภอดงหลวง  ประมาณ 68 กิโลเมตร มีเนื้อที่ประมาณ 1,500 ไร่ สภาพพื้นที่เป็นที่ราบสูง เหมาะแก่การทำสวน เป็นหมู่บ้านขนาดกลาง มีจำนวนครัวเรือน 123 ครัวเรือน ชาวบ้านส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ ฐานะความเป็นอยู่ระดับปานกลางถึงระดับดี การศึกษาอยู่ในระดับประถมศึกษา ประชาชนมีความเอื้อเฟื้อเผือแผ่ มีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนของตนเอง

     อาณาเขต

ทิศเหนือ         ติดต่อ หมู่ที่ 3  บ้านนาโคกกุง ตำบลกกตูม อำเภอดงหลวง

                  ทิศใต้            ติดต่อ    หมู่ที่ 10 บ้านขัวสูง  ตำบลกกตูม อำเภอดงหลวง

                  ทิศตะวันออก  ติดต่อ  ห้วยกระแต

                  ทิศตะวันตก     ติดต่อ           ลุ่มน้ำห้วยบางทรายตอนบน  

 

 

 

 

 

                                                         -2-

     ประชากรของหมู่บ้าน

          จำนวนครัวเรือน ๑23 ครัวเรือน

มีประชากรทั้งหมด 345 คน เพศชาย 200 คน เพศหญิง  145 คน

  จำนวนประชากรที่อาศัยอยู่จริง ณ วันที่สำรวจ แยกตามช่วงอายุ

                (จากการสำรวจข้อมูล จปฐ. ปี ๒๕๕9)

ช่วงอายุประชากร

จำนวนเพศชาย

จำนวนเพศหญิง

จำนวนรวม

น้อยกว่า ๑ ปีเต็ม

2

2

4

๑ ปีเต็ม  - ๒ ปี

3

0

3

๓ ปีเต็ม  - ๕ ปี

6

11

17

๖ ปีเต็ม  - ๑๑ ปี

16

11

27

๑๒ ปีเต็ม - ๑๔ ปี

5

4

9

๑5 ปีเต็ม - ๑๗ ปี

8

8

16

๑๘ ปีเต็ม - ๒๕ ปี

21

19

40

๒๖ ปีเต็ม - ๔๙ ปี

84

54

138

๕๐ ปีเต็ม - ๖๐ ปี

33

22

55

มากกว่า ๖๐ ปีเต็มขึ้นไป

22

14

36

รวมทั้งหมด

200

145

345

 

   การประกอบอาชีพ

            อาชีพหลัก      ทำการเกษตร (ทำสวนยางพารา)

            อาชีพรอง        รับจ้าง ค้าขาย  มันสำปะหลัง

          ในภาพรวมของบ้านป่าไม้พัฒนา หมู่ที่ 10 คนในชุมชนมีรายได้จากการประกอบอาชีพทางการเกษตร คือ การทำสวนยางพารา ปลูกมันสำปะหลัง อ้อย  ซึ่งมีรายได้เฉลี่ยต่อคนต่อปี 167,323 บาท

           

 

 

 

                                                        -3-

 

   จำนวนประชากรที่อาศัยอยู่จริง ณ วันที่สำรวจ จำแนกตามอาชีพ

   จากผลการจัดเก็บข้อมูล ความจำเป็นพื้นฐานระดับหมู่บ้าน (จปฐ.)ปี 2559

 

อาชีพ

จำนวนเพศชาย(คน)

จำนวนเพศหญิง(คน)

จำนวนรวม(คน)

 เกษตรกรรม - ทำนา

78

46

124

 เกษตรกรรม – ทำไร่

2

2

4

 เกษตรกรรม –ทำสวน

46

25

71

 เกษตรกรรม –ประมง

0

0

0

 เกษตรกรรม -ปศุสัตว์

0

0

0

รับราชการ เจ้าหน้าที่ของรัฐ

5

8

13

พนักงานรัฐวิสาหกิจ

1

1

2

พนักงานบริษัท

0

0

0

รับจ้างทั่วไป

12

7

19

ค้าขาย

4

6

14

ธุรกิจส่วนตัว

0

0

0

อาชีพอื่นๆ

1

4

5

กำลังศึกษา

44

35

79

ไม่มีอาชีพ

7

11

18

รวมทั้งหมด

200

145

345

 

  คุณภาพชีวิตของประชาชน

ข้อมูลความจำเป็นพื้นฐาน (จปฐ.) เป็นข้อมูลระดับครัวเรือนที่จัดเก็บทุกครัวเรือนที่อาศัยอยู่จริงในชุมชน ซึ่งจะทำให้ทราบข้อมูลความจำเป็นระดับครัวเรือนที่ผ่านเกณฑ์ตามตัวชี้วัด 5 หมวด 30 ตัวชีวัด ทั้งในระดับครัวเรือน ตำบล อำเภอ จังหวัด

 

จากการสำรวจข้อมูลความจำเป็นพื้นฐาน (จปฐ.) ปี ๒๕๕9 จากการจัดเก็บข้อมูลเพื่อนำมาประมวลผลปรากฏว่าหมู่บ้านนี้ผ่านตัวชี้วัดจานวน 30 ตัวชี้วัด  มีตัวชี้วัดที่มีครัวเรือนไม่ผ่านเกณฑ์

 

                                                -4-

 

จำนวน 2 ตัวชี้วัด คือ ตัวชี้วัดที่ 25 และ 26  จากการวิเคราะห์ข้อมูลสรุปได้ว่า ประชาชนในหมู่บ้านมีคุณภาพชีวิตที่ดี                                            

 

     ข้อมูลรายได้

จากการสำรวจข้อมูล จปฐ. ปี ๒๕๕9 พบว่า หมู่บ้านนี้มีรายได้จากอาชีพหลักและรายได้เสริม รวมทั้งสิ้น  38,813,026 บาท และมีรายได้เฉลี่ยคนละ 167,323 บาทต่อปี โดยที่มาของรายได้จำแนกได้ ดังนี้

 

  รายได้จากการประกอบอาชีพหลัก (ทำสวน)              20,786,000    บาท

   รายได้จากการประกอบอาชีพเสริม (ค้าขาย/รับจ้าง)     6,168,000     บาท                       

   รายได้อื่นๆ (ลูกหลานส่ง/ค่าเช่า)                             6,383,000     บาท                      รายได้จากการทำ/การหา/การปลูก/การเลี้ยงไว้กินเอง  5,476,026     บาท                                                                                   รวมรายได้ทั้งหมด         38,813,026    บาท

 

           ข้อมูลรายจ่าย

จากการสำรวจข้อมูล จปฐ. ปี ๒๕๕9 พบว่า หมู่บ้านนี้มีรายจ่ายทั้งหมดของหมู่บ้าน

จำนวน    18,567,991  บาท โดยแยกเป็นรายจ่ายได้ดงนี้

 

   รายจ่ายที่เป็นต้นทุนในการผลิต                      5,332,021          บาท                                                      

  รายจ่ายในการอุปโภค/บริโภคที่จำเป็น                     4,985,000           บาท

  รายจ่ายในการอุปโภค/บริโภคที่ไม่จำเป็น                  4,100,750          บาท

   รายจ่ายในการชำระหนี้สิน                                    4,150,220          บาท

                                       รวมรายจ่ายทั้งหมด   18,567,991             บาท

       สถานที่สำคัญของหมู่บ้าน/แหล่งท่องเที่ยว/โบราณสถาน

              สถานที่สำคัญของหมู่บ้าน คือ 

  วัดสวนป่าริมธาร

  สำนักสงฆ์ถ้ำเสือภูกระออม

 

 

                                      -5-

 

แหล่งน้ำธรรมชาติ ที่สำคัญได้แก่

 อ่างเก็บน้ำห้วยเหี้ย                                        

 ห้วยสายนา

 ห้วยคำกั้ง

 หนองแคน

 น้ำตกด่านแต้

     ข้อมูลการคมนาคม/สาธารณสุข

            การเดินทางเข้าหมูบ้าน

             เดินทางจากศาลากลางจังหวัดมุกดาหาร ตามถนนสายคำชะอี – ดงหลวง – ถนนเปรมพัฒนา – แยกเต๋างอย – เขาวง   ประมาณ  113  กิโลเมตร ถึงตัวหมู่บ้าน                          

      สาธารณูปโภค                                  

-          มีไฟฟ้าใช้ครบทุกครัวเรือน

-          มีประปาหมู่บ้านใช้ครบทุกครัวเรือน

-          มีโทรศัพท์ประจำบ้าน

      ประเพณี วัฒนธรรมและความเชื่อของชุมชน

    ถึงแม้ว่า จะมีการแบ่งการปกครองออกเป็นหมู่บ้าน แต่ก็มีความผูกพันกัน ด้วยสายใยแห่งการช่วยเหลือเกื้อกูลกันที่มีมายาวนาน  คนในชุมชนมีความสัมพันธ์กันอย่างเหนียวแน่น เหมือนพี่เหมือนน้อง  ชาวบ้านส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ

      ประเพณี

  รดน้ำดำหัวผู้ใหญ่ในวันสงกรานต์

  ก่อพระเจดีย์ทราย                     

  สรงน้ำพระ                                             

  บรรพชาสามเณรภาคฤดูร้อน         

  ประเพณีลอยกระทง                       

  วันเข้าพรรษา                                

    

                                                      -6-

      ภูมิปัญญาท้องถิ่น

          ๑. นายสุทัศน์       จรัสแสง          ภูมิปัญญาด้านเกษตร (เพาะเห็ด ปลูกแก้วมังกร)

          ๒. นางมน           สีใส                 ภูมิปัญญาด้านทอผ้า

          ๓. นางบัวพันธุ์     เสนารักษ์         ภูมิปัญญาด้านทอผ้า

                                                

     การศึกษาของคนในชุมชน

ประชาชนในชุมชนส่วนใหญ่การศึกษาอยู่ในระดับประถมศึกษา ดังตารางข้างล่างนี้

จำนวนประชากรที่อาศัยอยู่จริง ณ วันที่สำรวจ จำแนกตามระดับการศึกษา

จากผลการจัดเก็บข้อมูล ความจำเป็นพื้นฐานระดับหมู่บ้าน (จปฐ.)ปี 2559

 

ระดับการศึกษา

ชาย (คน)

หญิง(คน)

รวม(คน)

ไม่เคยศึกษา

6

7

13

อนุบาล/ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก

6

13

19

ต่ำกว่าชั้นประถมศึกษา

7

6

13

จบชั้นประถมศึกษา (ป. 4 ป.7 ป.6 )

85

52

137

มัธยมศึกษาตอนต้น (ม.ศ.1-3,ม.1-3)

51

22

73

มัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.ศ. 4-5,ม.4-6,ปวช.)

32

22

54

อนุปริญญา หรือเทียบเท่า

11

13

24

ปริญญาตรี หรือ เทียบเท่า

2

10

12

สูงกว่าปริญญาตรี

0

0

0

รวมทั้งหมด

200

145

345

        

 

 

 

 

 

                                                      -7-

      ข้อมูลด้านการเมือง/การบริหาร/องค์กร

           ผู้ใหญ่บ้าน               นายสุทัศ                จรัสแสง

 ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน        นายสัมฤทธิ์            พงศ์สิทธิศักดิ์

                   นางยุพิน               คนเพียร

                   นายทองมี              สายรัตน์

สมาชิกสภาเทศบาล     นายอินตา             พ่อศรีชา

       ข้อมูลด้านการเมือง/การบริหาร/องค์กร

 กลุ่มสตรีอาสาพัฒนา   จัดตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2538   ประธาน  นางทวี  พ่อศรีชา

 กองทุนหมู่บ้าน  จัดตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2544   ประธาน  นายใบ สีใส

 อาสาสมัครสาธารณสุขมูลฐาน    ประธาน  นายรัชมี  เพชรดีคาย

 กลุ่มแม่บ้านเกษตรกร    ประธาน  นางทวี  พ่อศรีชา

 กองทุนพัฒนาบทบาทสตรี     ประธาน  นางทวี  พ่อศรีชา

          กองทุนแม่ของแผ่นดิน          ประธาน  นายสุทัศ   จรัสแสง

                กองทุน กข.คจ.       ประธาน  นาสุทัศ  จรัสแสง                

 

                   

 

 

 

 

 

 

                                         -8-

                                           ส่วนที่ 2

                         การประเมินผลการพัฒนาหมู่บ้าน

 

การประเมินสถานะการพัฒนาหมู่บ้าน เป็นการวิเคราะห์ข้อมูล สภาพทั่วไป ข้อมูลพื้นฐาน สภาพปัญหาความต้องการ จุดอ่อน จุดแข็ง อุปสรรค โอกาสของชุมชน ในการพัฒนาหมู่บ้าน และได้ประเมินสถานะการพัฒนาหมู่บ้านในรอบปีที่ผ่านมา โดยนำผลการวิเคราะห์ข้อมูล จากข้อมูล กชช. 2 ค ข้อมูลความจำเป็นพื้นฐาน (จปฐ.) และจากเวทีประชาคม เพื่อหาสาเหตุ ปัจจัย และความเชื่อมโยง เพื่อนำไปใช้ในการวางแผนพัฒนาหมู่บ้านให้ตรงกับสภาพปัญหาความเป็นจริง รวมทั้งศึกษาข้อมูลกิจกรรมโครงการที่หมู่บ้านได้รับการสนับสนุนจากส่วนราชการ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคีการพัฒนาต่าง ๆ วิเคราะห์ความสอดคล้องกับทิศทางการพัฒนาชุมชน ผลการวิเคราะห์ และประเมินสถานการณ์พัฒนาจะทำให้หมู่บ้านมีมุมมอง และแนวคิดในการกำหนดทิศทางการพัฒนาหมู่บ้านได้ชัดเจนและเป็นรูปธรรมมากขึ้น

               ผลการสำรวจข้อมูล จปฐ. และข้อมูล กชช. 2 ค

ข้อมูลความจำเป็นพื้นฐาน  (จปฐ.) มีตัวชี้วัดทั้งหมด  30  ตัวชี้วัด เพื่อวัดระดับ

มาตรฐานชีวิตของคนไทยในระดับครัวเรือน และมีการจัดเก็บทุก ๆ ปี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้เป็นเครื่องชี้วัดความจำเป็นพื้นฐาน (จปฐ.) เป็นเครื่องมือของกระบวนการเรียนรู้ของประชาชนในหมู่บ้าน เพื่อให้ประชาชนในหมู่บ้านทราบว่าสภาพความเป็นอยู่ของตนเองว่า บรรลุตามเกณฑ์ความจำเป็นพื้นฐานแล้วหรือไม่ ข้อมูลความจำเป็นพื้นฐาน มี 5 หมวด 30 ตัวชี้วัด

หมวดที่ 1 สุขภาพดี ( คนไทยมีสุขภาพและอนามัยดี )  มี 7 ตัวชี้วัด

หมวดที่ 2 มีบ้านอาศัย (คนไทยมีบ้านอาศัยและสภาพแวดล้อมเหมาะสม) มี 8 ตัวชี้วัด

หมวดที่ 3 ฝักใฝ่การศึกษา (คนไทยมีการศึกษาที่เหมาะสม)  มี 5 ตัวชี้วัด

หมวดที่ 4 รายได้ก้าวหน้า (คนไทยมีงานทำและมีรายได้)  มี 4  ตัวชี้วัด

หมวดที่ 5 ปลูกฝังค่านิยมไทย (คนไทยประพฤติดีและมีคุณธรรม)  มี 6 ตัวชี้วัด

    จากผลการจัดเก็บข้อมูลความจำเป็นพื้นฐานระดับหมู่บ้าน (จปฐ.)

ได้สรุปปัญหาที่ไม่บรรลุเป้าหมายและแนวทางการแก้ไขไว้ดังนี้

หมวดที่ 5 ปลูกฝังค่านิยม (ประชาชนมีการปลูกฝังค่านิยมให้กับตนเอง

เพื่อให้คุณภาพ ชีวิตดีขึ้น)

 

                                            -9-

 

จากการสำรวจข้อมูล จปฐ. หมวดที่ 5 ปลูกฝังค่านิยม ในภาพรวมบ้านป่าไม้พัฒนา        ไม่ผ่านเกณฑ์ตัวชี้วัด จำนวน 3 ข้อ คือ

ข้อ 24 คนในครัวเรือนมีการเก็บออมเงิน  จำนวนที่สำรวจทั้งหมด 345 คน ไม่ผ่านเกณฑ์จำนวน 4 คน คิดเป็น  3.25 % ของประชากรทั้งหมด

ข้อ 25 คนในครัวเรือนติดสุรา จำนวนที่สำรวจทั้งหมด  345  คน ไม่ผ่านเกณฑ์จำนวน   2 คน  คิดเป็น  0.58  % ของประชากรทั้งหมด

ข้อ 26 คนในครัวเรือนสูบบุหรี่  จำนวนที่สำรวจทั้งหมด  345  คน ไม่ผ่านเกณฑ์จำนวน  49 คน   คิดเป็น  14.20 % ของประชากรทั้งหมด

แนวทางแก้ไข

๑. รณรงค์ให้ประชาชนเห็นโทษของการสูบบุหรี่      

๒. รณรงค์ให้ประชาชนเห็นโทษของการดื่มสุรา

3. ส่งเสริมให้ประชาชนออกกำลังกาย/เล่นกีฬา

4. รณรงค์การลด ละ เลิก อบายมุข

                        ข้อมูลพื้นฐานระดับหมู่บ้าน กชช 2 ค

ข้อมูลพื้นฐานระดับหมู่บ้านเป็นข้อมูลที่แสดงระดับการพัฒนาหมู่บ้านว่า หมู่บ้านอยู่ในระดับใดเมื่อเทียบกับหมู่บ้านส่วนใหญ่ โดยมีข้อมูลทั้งหมด   7 ด้าน 33 ตัวชี้วัด ซึ่งผลการวิเคราะห์พบว่า บ้านหนองตะเคียนเฒ่า เป็นหมู่บ้านเร่งรัดพัฒนาระดับ 3 หรือหมู่บ้านก้าวหน้า

  จากผลการสรุปปัญหาของหมู่บ้านจากข้อมูล กชช.2ค.

          ได้สรุปปัญหาที่ได้ระดับคะแนนน้อย ( 1 คะแนน)  และแนวทางการแก้ไขไว้ดังนี้

1. ด้านโครงสร้างพื้นฐาน

ปัญหา                     การติดต่อสื่อสาร

แนวทางแก้ไข         - ควรเพิ่มตู้โทรศัพท์สาธารณะและตู้รับเอกสารตามครัวเรือนเพื่อรับข่าวสารทั้งภายในและภายนอก หมู่บ้าน

ปัญหา                             ด้านการกีฬา

แนวทางแก้ไข         - สนับสนุนอุปกรณ์กีฬาทุกประเภท

 - ส่งเสริมให้มีการแข่งขันกีฬาภายในหมู่บ้าน

 - จัดหาวิทยากรมาฝึกสอนกีฬาให้กับคนในหมู่บ้าน

 

                                                   

                                                        -10-

               

                                        ปัญหาจากเวทีประชาชน

1. ปัญหาด้านเศรษฐกิจ

1.1 เศรษฐกิจตกต่ำทำให้ประชาชนมีรายได้น้อย

เศรษฐกิจตกต่ำทำให้ประชาชนมีรายได้น้อยหรือเท่าเดิมแต่ค่าใช้จ่ายสูงขึ้นทำให้รายได้ไม่พอกับรายจ่ายประกอบกับประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำสวนเพียงอย่างเดียว   ไม่มีการประกอบอาชีพเสริมและไม่มีเงินทุนในการประกอบอาชีพเสริม

1.2 ราคาผลผลิตทางการเกษตรตกต่ำ  ไม่แน่นอน จึงทำให้ประชาชนมีรายได้ที่ไม่แน่นอน จึงก่อให้เกิดปัญหาการกู้หนี้ยืมสินมาเพื่อยังชีพ

1.3 ต้นทุนในการประกอบอาชีพทำสวนผลไม้สูง  เพราะ ค่าปุ๋ย ค่ายา ค่าจ้างแรงงาน ค่าน้ำมันเชื้อเพลิง มีราคาสูง

2. ปัญหาด้านสังคม

2.1  ประชาชนบางส่วนไม่ร่วมทำกิจกรรมสาธารณะประโยชน์ของชุมชนและมีการรวมกลุ่มกันน้อย

3.  ด้านสาธารณสุข

          3.1  คนในครัวเรือนดื่มสุรา 

3.2  คนในครัวเรือนสูบบุหรี่

4. ปัญหาด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

          3.1  การทิ้งขยะในหมู่บ้านยังไม่เป็นระบบ ประชาชนยังไม่มีการคัดแยกขยะก่อนทิ้ง

 

จากผลการสำรวจข้อมูลและปัญหาของหมู่บ้านได้มีกิจกรรม/โครงการ

ในแผนพัฒนาหมู่บ้านเพื่อใช้ในการแก้ไขปัญหา และพัฒนาหมู่บ้านดังนี้

 

1.1 ด้านโครงสร้างพื้นฐาน     

ปัญหา   การติดต่อสื่อสาร   แนวทางแก้ไข

- ประชาสัมพันธ์แจ้งข่าวสารโดยการประชุมประจำเดือนของหมู่บ้าน

- ประชาสัมพันธ์แจ้งข่าวสารผ่านหอกระจายข่าวของหมู่บ้าน

 

 

                                                           -11-

 

ปัญหา              ด้านการกีฬา    แนวทางแก้ไข

- ของบสนับสนุนวัสดุ อุปกรณ์กีฬาสำหรับให้ประชาชนในหมู่บ้านได้เล่น ออกกำลังกาย

- ส่งเสริมให้ประชาชนในหมู่บ้านเล่นกีฬา จัดหาสนามกีฬาและวิทยากรมาแนะนำการเล่น กฎ กติกา

1.2 ด้านเศรษฐกิจ                                                                

ปัญหา

 1) เศรษฐกิจตกต่ำทำให้ประชาชนมีรายได้น้อย

 2) ราคาพืชผลผลิตทางการเกษตรตกต่ำ  ไม่แน่นอน

 3) ต้นทุนในการประกอบอาชีพทำสวนผลไม้สูง  

แนวทางแก้ไข

มีการให้ความรู้เรื่องการดำเนินชีวิตตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง การส่งเสริมการจัดทำบัญชีครัวเรือน การส่งเสริมการออม/การประหยัด และการคัดเลือกครัวเรือนต้นแบบที่ดำเนินชีวิตตามแนวทางปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และผู้นำการดำเนินงานตามแนวทางปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง     

- ส่งเสริมการใช้เกษตรชีวภาพในการทำสวนผลไม้

- ส่งเสริมการปลูกผักสวนครัว รั้วกินได้

- สนับสนุนกลุ่มผลิตปุ๋ยชีวภาพ

- ส่งเสริมการใช้สารสกัดชีวภาพในการกำจัดแมลง

1.3 ปัญหาด้านสังคม

1)  ประชาชนบางส่วนไม่ร่วมทำกิจกรรมสาธารณะเพื่อประโยชน์ของชุมชนและมีการรวมกลุ่มกันน้อย

แนวทางแก้ไข

จัดกิจกรรมวันสำคัญทางศาสนา เช่น มาฆบูชา  วิสาขบูชา วันเข้าพรรษา-ออกพรรษา และงานประเพณี  เช่น วันขึ้นปีใหม่ วันพ่อแห่งชาติ  วันแม่แห่งชาติ  วันสงกรานต์ เป็นต้น จัดกิจกรรมวันผู้สูงอายุ นอกจากนี้เมื่อมีงานประเพณีในเรื่องงานบวช งานศพ ชาวบ้านก็จะมีการช่วยเหลือกันเป็นอย่างดี

 

                                            

                                              -12-

 

1.4  ด้านสาธารณสุข          

 ปัญหา

          1) คนในครัวเรือนดื่มสุรา                                

2) คนในครัวเรือนสูบบุหรี่                                                      

          แนวทางแก้ไข

          - รณรงค์การลด ละ เลิก อบายมุข

          - ส่งเสริมการเล่นกีฬา/การออกกำลังกาย

          1.5 ปัญหาด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

          1)  การทิ้งขยะในหมู่บ้านยังไม่เป็นระบบ ประชาชนยังไม่มีการคัดแยกขยะก่อนทิ้ง

          แนวทางแก้ไข

          - รณรงค์ให้ประชาชนได้คัดแยกขยะก่อนที่จะนำไปทิ้ง

          - ขอรับงบประมาณสนับสนุนจัดซื้อถังรองรับขยะในหมู่บ้าน

 

                                                         -13-

                                  

ส่วนที่ ๓

                              แนวโน้มทิศทางการพัฒนาหมู่บ้าน

บ้านหนองตะเคียนเฒ่า  เป็นหมู่บ้านมีทุนทางสังคมในด้านทรัพยากรธรรมชาติ มีภูมิปัญญาท้องถิ่น การอยู่ร่วมกันของคนในหมู่บ้าน อยู่ร่วมกันแบบเครือญาติ มีความเอื้ออาทร ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน มีระดับการพัฒนาอยู่ในระดับก้าวหน้า ผู้นำชุมชนมีศักยภาพ เสียสละ และประชาชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาหรือเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆของหมู่บ้าน จากการจัดเวทีประชาคมได้วิเคราะห์ศักยภาพชุมชน พบว่ามี จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรค ดังนี้

                        จุดแข็ง

            - ผู้นำชุมชนเข้มแข็ง

            - ช่วยเหลือซึ่งกันและกันให้ความร่วมมือในการพัฒนาหมู่บ้าน

            - มีความเอื้ออาทรกัน อยู่อย่างฉันท์พี่-น้อง

            - มีปราชญ์ชาวบ้านและหมอพื้นบ้านในหมู่บ้าน

            - มีกองทุนหมู่บ้าน

            - มีผู้นำกลุ่มองค์กรที่เข้มแข็ง

                      จุดอ่อน

- ต้นทุนการผลิตสูง

- ราคาผลผลิตตกต่ำ

- ประชาชนมีรายได้น้อย

- ประชาชนไม่มีอาชีพเสริม

                       โอกาส

- มีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้ความช่วยเหลือ

- มีองค์การบริหารส่วนจังหวัดให้ความช่วยเหลือ

- นโยบายของจังหวัด

- นโยบายรัฐบาล

- มีแหล่งเงินทุนในหมู่บ้าน

                                           -14-

 

                      อุปสรรค

-  ราคาน้ำมันแพง                            

-  ค่าน้ำ ค่าไฟแพง

-  ภัยแล้ง

-  ภัยธรรมชาติ                                         เวทีประชาคมทบทวนแผนพัฒนาหมู่บ้าน        

บ้านป่าไม้พัฒนา ม.10 ได้มีการจัดเวทีประชาคมหมู่บ้านจัดทำแผนพัฒนาหมู่บ้าน โดยมีการวิเคราะห์ ศักยภาพชุมชน   กำหนดตำแหน่ง   การประกอบอาชีพ ค้นหาสาเหตุของปัญหา รวมทั้งได้กำหนดแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม เพื่อเป็นทิศทางในการพัฒนาหมู่บ้าน โดยได้กำหนดวิสัยทัศน์หมู่บ้าน ดังนี้

การกำหนดวิสัยทัศน์การพัฒนาหมู่บ้าน

            วิสัยทัศน์การพัฒนาหมู่บ้าน  คือ   ประชาชนในหมู่บ้านใช้ชีวิตแบบพอเพียง และพึ่งตนเองได้ทุกครัวเรือน

            พันธกิจของหมู่บ้านที่จะนำไปสู่วิสัยทัศน์   คือ  ประชาชนพึงตนเอง ไม่พึ่งพาภายนอก

            เป้าหมายการพัฒนา คือ

                   ๑. ประชาชนดำเนินชีวิตตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

                   ๒. ประชาชนลด ละ เลิก อบายมุข

                   ๓. ประชาชนมีการออมเงิน

                   ๔. ประชาชนมีอาชีพเสริม

                   ๕. พัฒนาหนองตะเคียนเฒ่าให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์

 

 

 

                                                   -15-

                                   เป้าหมายการพัฒนาหมู่บ้าน

 

บ้านหนองตะเคียนเฒ่า  ได้มีการจัดเวทีประชาคมจัดทำแผนพัฒนาหมู่บ้าน เพื่อกำหนดทิศทางการพัฒนาหมู่บ้าน ให้บรรลุพันธะกิจที่จะนำไปสู่วิสัยทัศน์ของหมู่บ้าน  โดยกำหนดกิจกรรม/โครงการ ดังนี้                             

การพัฒนาด้านเศรษฐกิจ

1) ส่งเสริมการดำเนินชีวิตตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง

2) โครงการปลูกผักสวนครัวรั้วกินได้

3) กิจกรรม ลด ละ เลิก อบายมุข                               

4) พัฒนากลุ่มอาชีพสตรี

5) สนับสนุนกลุ่มผลิตปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ

6) ส่งเสริมการใช้สารสกัดจากชีวภาพในการกำจัดแมลง           ส่งเสริมการทำบัญชีครัวเรือน

7) รณรงค์การลดใช้สารเคมีในการทำสวนผลไม้            

8) ส่งเสริมการออมเงิน / การทำบัญชีครัวเรือน  

9) ส่งเสริมการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร

10) ส่งเสริมการใช้เกษตรชีวภาพในการทำสวนผลไม้                           

11) อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับยาเสพติด

12) สร้างเครือข่ายอาสาสมัครเฝ้าระวังยาเสพติดไม่ให้เข้ามาในหมู่บ้าน                                                                          ผลิตสารสกัดจากชีวภาพ

13) อบรมให้ความรู้การประหยัดพลังงาน

                 

 

 

                                                    

 

          ปลูกพืชผักสวนครัว                 ทำปุ๋ยหมักชีวิภาพ                   ส่งเสริมการออม

 

 

-16-

                                      

ส่วนที่ ๔

                                  สรุปรายงานการพัฒนาหมู่บ้าน

 

บ้านป่าไม้พัฒนา เป็นหมู่บ้านที่มีวิถีชีวิตแบบชุมชนชนบท มีอาชีพหลักด้านการเกษตร เนื่องจากเป็นพื้นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์ทั้งดินและน้ำ จึงเป็นทุนทางสังคมที่สำคัญทำให้ประชาชนมีความมั่นคงทางด้านการประกอบอาชีพทางการเกษตร การอยู่ร่วมกันของคนในหมู่บ้านมีความปรองดอง เอื้ออาทร รักใคร่ สามัคคี มี ขนบธรรมเนียมประเพณีที่ดีงาม การจัดกิจกรรมในวันสำคัญทางศาสนาและประเพณี   ทำให้เกิดความร่วมมือและสามัคคีกันบ้านป่าไม้พัฒนา เป็นหมู่บ้านที่ศักยภาพในการพัฒนาสูง เพราะผู้นำชุมชนเป็นนักพัฒนาที่มีความคิดสร้างสรรค์ มีภาวะผู้นำ เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงในชุมชน และเป็นแบบอย่างที่ดีในการเสียสละเพื่อส่วนรวม จึงทำให้ได้รับความร่วมมือจากประชาชนในหมู่บ้านเป็นอย่างดี และได้ให้การช่วยเหลือสนับสนุนแก่หมู่บ้านอื่น ๆ ในกิจกรรมการพัฒนาต่าง ๆ บ้านป่าไม้พัฒนา  มีการจัดตั้งกลุ่ม/องค์กร   ขึ้นเพื่อดำเนินกิจกรรมต่างๆของหมู่บ้าน เช่น กลุ่มสตรีอาสาพัฒนา   กองทุนหมู่บ้าน   อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน กลุ่มแม่บ้านเกษตรกร  กลุ่มปรับปรุงคุณภาพทุเรียน กองทุนพัฒนาบทบาทสตรี กองทุนแม่ของแผ่นดิน ทำให้มีการขับเคลื่อนกิจกรรมในด้านต่างๆ ภายใต้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง   ในการดำเนินกิจกรรมภายใต้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงบ้านป่าไม้พัฒนา มีหลาย กิจกรรมที่ทำให้เกิดการขับเคลื่อนปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ได้แก่

1. การประชุมหรือจัดเวทีประชาคม มีการพูดคุยแลกเปลี่ยนในเรื่องของการทำมาหากิน หรือการดำเนินกิจกรรมเศรษฐกิจพอเพียง ทำให้ชาวบ้านเกิดการตื่นตัวหรือแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน

2. การฝึกอบรม ศึกษาดูงาน การที่ประชาชนได้ไปฝึกอบรม ศึกษาดูงาน เป็นการ

ได้ดูแบบอย่างที่ประสบผลสำเร็จ ทำให้เกิดการปรับทัศนคติหรือแนวคิด และการมีแบบอย่างในการใช้ชีวิตตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

3. การจัดทำแผนพัฒนาหมู่บ้าน บ้านป่าไม้พัฒนา  มีการจัดทำแผนพัฒนาหมู่บ้านที่สอดคล้องกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เช่น โครงการผลิตปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ ส่งเสริมการใช้สารสกัดจากชีวภาพในการกำจัดแมลง   ส่งเสริมการออมทรัพย์ รณรงค์การลดใช้สารเคมีในการทำสวนผลไม้  รณรงค์การลด ละ เบิกอบายมุข รณรงค์การประหยัดและอดออม  ส่งเสริมให้ประชาชนในหมู่บ้านจัดทำบัญชีครัวเรือน เป็นการวางแผนการใช้จ่ายเงิน

 

                                             -17-

 

4. ผู้นำชุมชนให้ความสำคัญกับการดำเนินกิจกรรมตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง มีการขับเคลื่อนกิจกรรมต่างๆอย่างบูรณาการ มีการประสานหน่วยงานภาคีทั้งภาครัฐ เอกชน

จึงทำให้หมู่บ้านมีการพัฒนาจนบรรลุพันธกิจที่จะนำไปสู่ความสำเร็จตามวิสัยทัศน์ของหมู่บ้าน

ได้อย่างยั่งยืน

 

 

 

 

 

 

 

                                  

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

-18-

 

 

-19-

 

 

-20-

10

บ้าน

บ้านป่าไม้พัฒนา

ตำบล

กกตูม

อำเภอ

ดงหลวง

จังหวัด

มุกดาหาร

คำแนะนำ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

                             

 

                     ภาคผนวก

 

 

 

 

 

 

ภาพกิจกรรมที่ดำเนินการในหมู่บ้านป่าไม้พัฒนา ม.10 ตำบลกกตูม

 

โครงการส่งเสริมสัมมาชีพชุมชนในระดับหมู่บ้าน จำนวน 20 ครัวเรือน

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

เยาวชนห่างไกลยาเสพติด

 

โครงการ 9101

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

โครงการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

                                                                                                                

 

 

 

 

 

                            ที่ปรึกษาการทำรายงานการพัฒนาหมู่บ้าน  (VDR)

 

๑. นายพัฒนา          วงศ์ประทุม                       พัฒนาการอำเภอดงหลวง

๒. นายสุทัศ             จรัสแสง                           ผู้ใหญ่บ้านป่าไม้พัฒนา  

๓. นายเทคนิค          พรานเนื้อ                          กำนันตำบลกกตูม

                            

 

 

 

                                

 

 

                             

 

 

 

                                ผู้รวบรวมและทำรายงานการพัฒนาหมู่บ้าน

 

                                           นางมณฑนา  ยามา

                                   นักวิชาการพัฒนาชุมชนปฏิบัติการ

                     สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอดงหลวง  จังหวัดมุกดาหาร

                                      

 

 

view

 หน้าแรก

 สินค้า

 บทความ

 รวมรูปภาพ

 เว็บบอร์ด

 ติดต่อเรา

view