http://dlcd2.igetweb.com
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com

 หน้าแรก

 บทความ

 รวมรูปภาพ

 เว็บบอร์ด

 ติดต่อเรา

สถิติ

เปิดเว็บ22/04/2015
อัพเดท01/11/2017
ผู้เข้าชม29,253
เปิดเพจ44,468
สินค้าทั้งหมด10

ข้อมูลทั่วไป

ข้อมูล พช. ดงหลวง

งานบริการ/ภารกิจ

กิจกรรมเด่น

องค์ความรู้ชุมชน

VDR / TDR

หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง

ภาคีเครือข่าย

โครงการแก้จน

ข้อมูลพื้นฐานหมู่บ้าน

เชื่อมโยงลิงค์

สินค้า

 สินค้า OTOP

ปฎิทิน

« April 2024»
SMTWTFS
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930    
iGetWeb.com
AdsOne.com

รายงานการพัฒนาหมู่บ้าน (VTR) บ้านโพนไฮ

รายงานการพัฒนาหมู่บ้าน (VTR) บ้านโพนไฮ

ข้อมูลทั่วไปของหมู่บ้าน

 

 

1. ประวัติความเป็นมาของหมู่บ้าน

        บ้านโพนไฮ เป็นหมู่บ้านที่ก่อตั้งขึ้นมาใหม่เมื่อปี พ.ศ. 2525 เมื่อก่อนนี้ได้พากันอพยพเข้าไปอยู่ในป่า เนื่องจากความไม่เข้าใจทางการเมือง เมื่อกลับออกมาทางราชการได้ให้ย้ายจากที่เดิมคือ ริมฝั่งห้วยบางทรายทางทิศใต้ ขึ้นมาตั้งเป็นบ้านโพนไฮในพื้นปัจจุบัน ด้านภาษา ส่วนมากพูดภาษาโซ่ หรือ ภาษาบรู    มีภาษาลาวและภาษาภูไทปะปนอยู่บ้างเป็นส่วนน้อย

 

แผนผังหมู่บ้าน

บ้านโพนไฮ   หมู่ที่  ๓   ตำบลหนองแคน

 

 

 

โรงเรียนบ้านโพนไฮ

 

วัดบ้านโพนไฮ

ที่ทำการผู้ใหญ่บ้าน

ไปดงหลวง

ไปพังแดง

ไปโคกยาว

เหนือ

ศูนย์เรียนรู้ชุมชน

ร้านค้าประชารัฐ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

2. ลักษณะภูมิประเทศ

        สภาพพื้นที่ของหมู่บ้านเป็นที่ราบสลับกับพื้นที่สูง

3. ลักษณะภูมิอากาศ

         สภาพอากาศ มี 3 ฤดูกาล ได้แก่ ฤดูหนาว ฤดูร้อน และฤดูฝน

4. ลักษณะของประชากร

        *   จำนวนครัวเรือน       119    ครัวเรือน

        *   จำนวนประชากร      298    คน

-                   ชาย                   150    คน

-                   หญิง         148    คน

จำนวนประชากรแยกตามช่วงอายุ

 

ช่วงอายุประชากร

จำนวนเพศชาย

(คน)

จำนวนเพศหญิง

(คน)

จำนวนรวม

(คน)

น้อยกว่า  ๑  ปีเต็ม

2

0

2

๑ ปีเต็ม – ๒ ปี

1

3

4

๓ ปีเต็ม  -  ๕  ปี

8

9

17

๖  ปีเต็ม –  ๑๑ ปี

21

11

32

๑๒ ปีเต็ม  -  ๑๔ ปี

2

3

5

๑๕ ปีเต็ม  -  ๑๗ ปี

5

10

15

๑๘ ปีเต็ม  -  ๒๕ ปี

9

11

20

๒๖ ปีเต็ม  -  ๔๙ ปีเต็ม

18

26

44

๕๐ ปีเต็ม  -  ๖๐ ปีเต็ม

26

28

54

มากกว่า  ๖๐ ปีเต็มขึ้นไป

24

18

42

รวมทั้งหมด

150

148

298

 

 

5. ลักษณะการประกอบอาชีพของชุมชน

        ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพหลัก และอาชีพเสริม เรียงลำดับได้

                  ๑.  อาชีพทำนา                               110    ครัวเรือน

                  ๒.  อาชีพรับจ้างทั่วไป                        4        ครัวเรือน

                  ๓.  อาชีพรับราชการ/เจ้าหน้าที่ของรัฐ      5        ครัวเรือน

 

6. สภาพทางเศรษฐกิจ

-          รายได้เฉลี่ย  71,718  บาท/คน/ปี (ตาม จปฐ. ปี 2559)

-          ชาวบ้านส่วนใหญ่ประกอบอาชีพ ทำนา  ใช้เนื้อที่  1,200  ไร่

 

7. สภาพทางสังคม 

        ชาวบ้านโพนไฮ นับถือศาสนาพุทธ มีการดำเนินชีวิตตามขนบธรรมเนียมประเพณีของชาวไทยอีสานโดยทั่วไป เช่น มีการทำบุญเดือนสาม บุญสงกรานต์ บุญข้าวประดับดิน บุญผะเหวด บุญเข้าพรรษา บุญออกพรรษา ลอยกระทง เป็นประจำทุกปี มีการแสดงของชาวบ้าน มีการลำกลองยาวเป็นที่สนุกสนาน และเสริมสร้างความรัก ความสามัคคีในหมู่บ้าน และยึดมั่นในขนบธรรมเนียมประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่สำคัญ  ราษฎรได้น้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ที่ทรงมีพระราชดำรัสชี้แนะแนวทางการดำเนินชีวิตมาปฏิบัติ และมีการใช้ภูมิปัญญามาเป็นต้นทุนในการผลิต มีการปลูกผักปลอดสารพิษและใช้ปุ๋ยชีวภาพ  มีความเคารพเชื่อฟังผู้อาวุโส มีหมอพื้นบ้าน หมอสูตร หมอเป่าหมอเยา

และตาม พ.ร.บ. ลักษณะการปกครองท้องที่ พ.ศ. ๒๔๕๗  ซึ่งมีคณะกรรมการบริหารหมู่บ้าน และการปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ร.บ.องค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗  และได้จัดแบ่งหมู่บ้านออกเป็น  6  คุ้ม 

คณะกรรมการบริหารงานหมู่บ้าน  จำนวน  22  คน  ประกอบด้วย

              ๑. นายสรร  แสนสุภา                                     ตำแหน่ง ประธานกรรมการ

                  ๒. นายรัสดา  เชื้อคำจันทร์                                            ตำแหน่ง รองประธานกรรมการ

         ๓. นางสาวนาถลดา วงศ์กระโซ่                                ตำแหน่ง กรรมการ

        ๔. นายสมคิด  วงค์กระโซ่                                       ตำแหน่ง กรรมการ

        ๕. นายอภินันท์  โซ่เมืองแซะ                                    ตำแหน่ง กรรมการ

        ๖. นายสมปอง  วงค์กระโซ่                                      ตำแหน่ง กรรมการ

        ๗. นายสมภาร  วงษ์กะโซ่                                       ตำแหน่ง กรรมการ

        ๘. นายบุญยืน  วงค์กระโซ่                                      ตำแหน่ง กรรมการ

        ๙. นายจันที  ไกยะฝ่าย                                         ตำแหน่ง กรรมการ

        10. นายยอดรัก  วงค์กระโซ่                                    ตำแหน่ง กรรมการ

        11. นายประเทศ  วงษ์กะโซ่                                    ตำแหน่ง กรรมการ

        12. นายขัน  วงษ์กะโซ่                                          ตำแหน่ง กรรมการ

        13. นางนันทิตา  เชื้อคำจันทร์                                  ตำแหน่ง กรรมการ

        14. นายชัยยา  สุคำภา                                         ตำแหน่ง กรรมการ

        15. นายชาตรี  แสนสุภา                                       ตำแหน่ง กรรมการ

        16. นายเพ็ชร์  วงค์กระโซ่                                      ตำแหน่ง กรรมการ

        17. นายคำ  เชื้อคำฮด                                          ตำแหน่ง กรรมการ

        18. นายสุพร  วงษ์กะโซ่                                        ตำแหน่ง กรรมการ

        19. นายสีใคร  วงค์กระโซ่                                      ตำแหน่ง กรรมการ

        20. นายภาส  โซ่เมืองซะ                                       ตำแหน่ง กรรมการ

        21. นายคี  วงศ์กระโซ่                                          ตำแหน่ง กรรมการ

                    22. นายเทื้อง  เชื้อคำฮด                                       ตำแหน่ง กรรมการ

 

 

 

 

       

8. การคมนาคม

        ห่างจากตัวอำเภออยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้  15 กิโลเมตร ห่างจากตัวเมืองมุกดาหารประมาณ 60 กิโลเมตร การคมนาคมมีทางหลวงแผ่นดินผ่านหมู่บ้านคือ ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๒๘๗ และทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๑๐๔  มีถนนสายหลักภายในหมู่บ้าน   ๒  สาย  รวมระยะทางทั้งหมด   2  กิโลเมตร  

เป็นถนนลาดยาง  ๑  สาย        ระยะทาง  3    กิโลเมตร

เป็นถนนคอนกรีต   2  สาย      ระยะทาง  2     กิโลเมตร                  

มีซอย  6  สาย                     ระยะทาง  4     กิโลเมตร

เป็นคอนกรีต    6        สาย    ระยะทาง  4     กิโลเมตร

 

9. แหล่งทรัพยากรในหมู่บ้านที่สนับสนุนการเพิ่มรายได้ให้กับครัวเรือน

                  *   ทรัพยากรธรรมชาติ             ๑. ผักหวานป่า

      ๒. เห็ดป่า

      ๓. หน่อไม้

                  * แหล่งท่องเที่ยว                    ๑. ภูถ้ำพระ

                                                        ๒. อ่างเก็บน้ำห้วยไร่

                                                        ๓. ทรามวัยนอนสำราญ

                  *   วัฒนธรรม / ประเพณี                    ๑. ขึ้น ๓ ค่ำ เดือน ๓ ทำบุญเปิดประตูเล้า

                                                        ๒. บุญประทายข้าวเปลือก

                                                        ๓. วันสงกรานต์

10. แหล่งความรู้ / สถานศึกษาให้ความรู้ด้านการประกอบอาชีพที่สามารถไปใช้บริการได้โดยสะดวก

                  ๑. โรงเรียนระดับประถม   จำนวน    ๑  แห่ง

                  ๒. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก     จำนวน     ๑  แห่ง

                  ๓. ศูนย์การเรียนรู้ชุมชน    จำนวน   ๑  แห่ง

 

11. ข้อมูลด้านการเลี้ยงสัตว์        

                  ๑. เลี้ยงกระบือ            จำนวน           50      ครัวเรือน         จำนวน    60    ตัว

                  ๒. เลี้ยงโค                  จำนวน           60      ครัวเรือน         จำนวน  120   ตัว

                  ๓. เลี้ยงไก่-เป็ด            จำนวน           130    ครัวเรือน         จำนวน  3,297  ตัว

                  4. เลี้ยงสุกรพื้นเมือง       จำนวน           ๑0      ครัวเรือน         จำนวน    25   ตัว

 

12. ข้อมูลสถานบริการ

                  มีสถานบริการน้ำมัน  ชนิดปั้มหลอด /  ขนาดเล็ก                       จำนวน    ๑      แห่ง

                  มีร้านค้าในหมู่บ้าน                                                        จำนวน    3      แห่ง

                  มีธนาคารหมู่บ้าน                                                                   จำนวน    ๑     แห่ง

 

13. แหล่งน้ำกินน้ำ - น้ำใช้

          มีระบบประปาภูเขาใช้ในหมู่บ้าน   มีผู้ใช้น้ำ จำนวน  119 ครัวเรือน

 

14.  แหล่งน้ำธรรมชาติ (ห้วย   หนอง   คลอง  บึง)

                  ๑.  ห้วยบางทราย                   ใช้ประโยชน์  อุปโภคได้ตลอดปี

                  ๒.  ห้วยแคน                        ใช้ประโยชน์  เลี้ยงสัตว์ได้ตลอดปี

                  ๓.  อ่างเก็บน้ำห้วยไร่               ใช้ประโยชน์  ด้านการเกษตร

 

15. ผลิตภัณฑ์ชุมชน

        ราษฎรบ้านโพนไฮ  มีกลุ่มอาชีพหลายกลุ่ม เช่น กลุ่มทอผ้าย้อมสีธรรมชาติ กลุ่มทอเสื่อกก กลุ่มผลิตปุ๋ยหมักชีวภาพ  และกลุ่มเลี้ยงวัว ทำให้ราษฎรมีรายได้เสริมหลังจากฤดูทำนา เพื่อยกระดับรายได้ให้กับครัวเรือน ดำเนินชีวิตตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง ปลูกพืชผักสวนครัวและเลี้ยงสัตว์ไว้กินในครอบครัว

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

16. แหล่งเงินทุน

                ๑. กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง    เงินทุน ๒,๐๐๐,๐๐๐ บาท  สมาชิก ๑๑๒    คน

          ๒.  กองทุน ก ข ค จ.             เงินทุน    ๒๘๐,๐๐๐ บาท  สมาชิก   ๕๙   คน

          ๓.  กลุ่มทอผ้าย้อมสีธรรมชาติ    เงินทุน    ๑๐๐,๐๐๐ บาท  สมาชิก   21   คน

          ๔.  กลุ่มปุ๋ยหมักชีวภาพ           เงินทุน      ๑๐,๐๐๐ บาท  สมาชิก   ๕๐  คน

          ๕.  กลุ่มพัฒนาสตรี               เงินทุน      ๑๐,๐๐๐ บาท  สมาชิก   ๓๕  คน

          ๖.  กลุ่มกลองยาว                 เงินทุน      ๑๐,๐๐๐ บาท  สมาชิก   ๒๒  คน

         7. กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต    เงินทุน      40,000 บาท  สมาชิก   23  คน

         8. กองทุนแม่ของแผ่นดิน เงินทุน      21,000 บาท  สมาชิก   30  คน

           9. กลุ่มเลี้ยงโค                     เงินทุน      30,000 บาท  สมาชิก   102  คน

 

ความภาคภูมิใจของชุมชน

๑.  สร้างแหล่งเรียนรู้ ซึ่งสามารถดำเนินการได้โดยไม่เบียดเบียนทรัพยากรธรรมชาติ  นอกจากนี้ยังแสดงให้เห็นพลังของทุนทางสังคมด้านทรัพยากรมนุษย์โดยเฉพาะด้านความร่วมมือร่วมใจเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน  ซึ่งนับวันภาพเหล่านี้จะหายากขึ้นทุกขณะ

๒. ชุมชนสามารถรักษาวิถีชีวิตดั้งเดิมเอาไว้ได้  ซึ่งตรงกับแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  รัชกาลที่ 9 มุ่งเน้นให้คนไทยหันมาพึ่งตนเองและช่วยเหลือผู้อื่น

 

การประเมินสถานการณ์พัฒนาหมู่บ้าน

 

 

 

ข้อมูลการศึกษา

การสำรวจข้อมูล จปฐ. ปี ๒๕๕9  พบว่า บ้านโพนไฮ หมู่ที่  3  มีการศึกษาระดับต่าง ๆ จำแนกได้ตามแผนภูมิด้านล่าง และพบว่าข้อมูล จปฐ ปี 2559 ข้อ 20  คนอายุ 15-60 ปีเต็ม อ่าน เขียน ภาษาไทย และคิดเลขอย่างง่ายได้ ไม่ผ่านเกณฑ์ คิดเป็นร้อยละ 16.1

 

 

ข้อมูลด้านอาชีพ

จากการสำรวจข้อมูล จปฐ. ปี ๒๕๕9  พบว่า บ้านโพนไฮ  หมู่ที่   3 ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมคือ การทำนา รองลงมาคือ อาชีพรับราชการ  ดังแผนภูมิแสดงสัดส่วนของอาชีพ และพบว่าข้อมูล จปฐ ปี 2559 21. คนอายุ 15-60 ปีเต็มมีอาชีพและรายได้ ไม่ผ่านเกณฑ์ ร้อยละ 3.02

 

 

ผลการวิเคราะห์ด้วย กชช.๒ค

 

ระดับการพัฒนาของหมู่บ้าน ประมวลจากข้อมูล กชช. ๒ค (ปี 2558)

จากการสำรวจข้อมูลพื้นฐานหมู่บ้าน (กชช ๒ค) ประจำปี  ๒๕๕8  มีผลการพัฒนาอยู่ใน

ระดับก้าวหน้า (ระดับ ๓) และเมื่อพิจารณากลุ่มตัวชี้วัดตามระดับปัญหา เป็นดังนี้

๑.      ตัวชี้วัดที่เป็นปัญหามาก (ระดับคะแนน ๑) มี  11  ตัวชี้วัด 

๒.     ตัวชี้วัดที่เป็นปัญหาปานกลาง (ระดับคะแนน ๒)  มี  21  ตัวชี้วัด 

๓.     ตัวชี้วัดที่เป็นปัญหาน้อย (ระดับคะแนน ๓) มี  19  ตัวชี้วัด

 

สรุป

          ตัวชี้วัด ข้อมูล กชช ๒ค ที่เป็นปัญหากระทบต่อการพัฒนาหมู่บ้าน คือ

 

 

 

 

 

 

แนวทางแก้ไข และข้อเสนอแนะ

  • การบริหารจัดการเรื่องที่ดินทำกิน
  • การส่งเสริมด้านการศึกษาในรูปแบบต่างๆ
  • การสนับสนุนอาชีพเสริม ลดรายจ่าย เพิ่มรายได้
  • การส่งเสริมเกษตรอินทรีย์
  • การแก้ไขปัญหาความยากจน การบริหารจัดการหนี้สินและการเข้าถึงแหล่งเงินทุน

 

ผลการวิเคราะห์ประเมินชุมชนจากเวทีประชาคม

มิติด้าน

แนวทางการพัฒนา

กิจกรรม/โครงการ

๑.ด้านเศรษฐกิจ

- สนับสนุนกิจกรรมประกอบอาชีพของชุมชนให้มีศักยภาพภายใต้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

- ส่งเสริมแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง

- ฝึกอบรมด้านเกษตรผสมผสาน

- ฝึกอบรมแปรรูปผลผลิต

- ส่งเสริมการปลูกพืชฤดูแล้ง

- โครงการฝึกอบรมอาชีพแก่กลุ่มสตรี/กลุ่มอาชีพในชุมชน

- ส่งเสริมการจัดทำบัญชีรับ – จ่ายครัวเรือน

- ส่งเสริมให้ประชาชนปลูกพืชผักและเลี้ยงสัตว์

- ส่งเสริม/รณรงค์การประหยัดและออมเงินแก่ประชาชน

- ปรับปรุงภูมิทัศน์หมู่บ้าน

๒. ด้านสังคม

 

 

 

- จัดตั้งกองทุนสวัสดิการชุมชน เพื่อดูแลคน

ทุกคนในชุมชน เช่น ครอบครัวที่อ่อนแอ ผู้ที่ไร้ที่พึ่ง คนแก่ที่อยู่กับเด็กตามลำพัง ในรูปแบบตามสถานการณ์ที่เกิดขึ้นจริงในชุมชน

- ฝึกอาชีพแก่เยาวชนที่ว่างงาน

- จัดเวทีเพื่อแก้ไขปัญหา

- จัดกิจกรรมวันผู้สูงอายุ และวันสำคัญต่าง ๆ

๓. ด้านสิ่งแวดล้อม

- สร้างจิตสำนึกให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

- ประชุมชี้แจงสร้างความเข้าใจให้ประชาชนทราบถึงโทษของการทำลายทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

- จัดกิจกรรม เมืองสวย บ้านสะอาด คนสุขภาพดี

- จัดกิจกรรมบำเพ็ญสาธารณะประโยชน์

๔. ด้านการเมือง

การปกครอง

- สร้างกระบวนการเรียนรู้ในการส่งเสริมระบอบประชาธิปไตยในการเลือกตั้งทุกระบบ

- ส่งเสริมให้ประชาชนมาใช้สิทธิ์ในการเลือกตั้งทุกครั้ง

- อบรมให้ความรู้แก่เยาวชน ผู้สูงอายุ และคนพิการในการเลือกตั้ง

- สร้างระบบประชาธิปไตยในโรงเรียน และชุมชน

- ประชุมให้ความรู้แก่เยาวชน ผู้สูงอายุ

- ส่งเสริมการเลือกตั้งในทุกระบบ

- ประชาสัมพันธ์การเลือกตั้งทุกครั้ง

- รณรงค์ให้มาใช้สิทธิในการเลือกตั้งทุกระบบ

๕. ด้านอื่น ๆ

- พัฒนาระบบสาธารณูปโภคในชุมชนเพื่ออำนวยความสะดวกและให้บริการประชาชนอย่างทั่วถึง

- ปรับปรุงระบบประปาให้ใช้การได้ดี และทั่วถึงทุกครัวเรือน

- ขยายระบบประปาหมู่บ้าน

- ขุดลอกหนองน้ำสาธารณะ

 

ผลการวิเคราะห์ศักยภาพชุมชน

ปัจจัยภายในที่เป็นจุดแข็ง

  • ผู้นำชุมชนมีศักยภาพ
  • มีการรวมกลุ่มทำกิจกรรมพัฒนาชุมชนที่หลากหลาย
  • มีเงินทุนชุมชนที่หลากหลาย
  • มีคณะกรรมการหมู่บ้านที่เข้มแข็ง
  • มีทรัพยากรธรรมชาติที่เอื้ออำนวยในการประกอบอาชีพ
  • ประชาชนรู้จักประหยัด อดออม
  • ความรักสามัคคีของคนในชุมชน
  • หมู่บ้านปลอดยาเสพติด

 

ปัจจัยภายในที่เป็นจุดอ่อน

  • ประชาชนได้รับการศึกษายังไม่เพียงพอ
  • ประชาชนยังขาดความเข้าใจในการจัดตั้งกลุ่มเพื่อต่อรองราคาสินค้าการเกษตรกับพ่อค้าคนกลาง
  • ประชาชนยังขาดความรู้ในด้านการเกษตร
  • ขาดความรู้ในด้านเทคโนโลยีในชุมชน
  • ที่ดินทำกินไม่เพียงพอ ไม่มีเอกสารสิทธิ์ในการครอบครอง

 

ปัจจัยภายนอกชุมชนที่เป็นโอกาส

  • เป็นศูนย์กลางการเรียนรู้เกษตรเพียงพอ โดยระบบเครือข่ายของศูนย์การเรียนรู้
  • เป็นเขตติดต่อกับสะพานไทย – ลาว
  • ยุทธศาสตร์จังหวัดส่งเสริมการค้าชายแดน
  • มีองค์กรเอกชนในการสนับสนุน
  • เส้นทางการคมนาคมอยู่ใกล้อำเภอ – จังหวัดเป็นเส้นทางหลักเข้าสู่ตัวจังหวัดได้ง่าย
  • หน่วยงานราชการให้การสนับสนุน

 

ปัจจัยภายนอกที่เป็นข้อจำกัด

  • สินค้าทางการเกษตร ราคาไม่มาตรฐาน ระบบการตลาดยังไม่ได้รับการสนับสนุนจากส่วนกลางอย่างจริงจัง
  • เส้นทางคมนาคม ไม่สะดวกขาดการซ่อมบำรุงจากหน่วยงานที่รับผิดชอบ
  • พื้นที่ทำการเกษตรของประชาชนส่วนใหญ่ยังยึดกับการทำการเกษตรตามฤดูกาล  ทำให้ขาดความมุ่งมั่นในการทำการเกษตรนอกฤดูกาล
  • ขาดน้ำในการเกษตร

 

 

สภาพปัญหาของหมู่บ้าน

  • ขาดแคลนแหล่งน้ำเพื่อการเกษตร
  • ขาดเงินทุนในการประกอบอาชีพ หลังฤดูเก็บเกี่ยว
  • แรงงานในชุมชนยังเป็นแรงงานไร้ฝีมือ
  • มีหนี้สินมาก
  • การปรับเปลี่ยนทัศนคติในการทำงานของชุมชนเป็นไปได้ยาก

 

 

ตารางการวิเคราะห์สภาพปัญหาของหมู่บ้าน

 

สภาพปัญหา

มีลักษณะอย่างไร

  • ขาดแคลนแหล่งน้ำเพื่อการเกษตร
  • แรงงานในชุมชนยังเป็นแรงงานไร้ฝีมือ
  • มีหนี้สินมาก
  • การปรับเปลี่ยนทัศนคติในการทำงานของชุมชนเป็นไปได้ยาก

 

  • คลองส่งน้ำไม่ทั่วถึง ลำห้วยตื้นเขิน
  • ไม่มีประสบการณ์ในด้านอาชีพ
  • มีรายได้น้อย ต้นทุนการผลิตสูง
  • ขาดความรู้ ความเข้าใจในงานที่ทำ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

แผนงาน/กิจกรรม/โครงการ

 

 

โครงการ/กิจกรรมที่ชุมชนสามารถทำเองได้

(ทำเอง)

 

โครงการ/กิจกรรมที่ชุมชนต้องร่วมกับภาคีการพัฒนา

(ทำร่วม)

โครงการ/กิจกรรมที่ชุมชนไม่สามารถทำเองได้ ต้องขอรับการสนับสนุนจากภาคีการพัฒนา(ทำให้)

 

๑.      ส่งเสริมความรู้แก่ประชาชนด้านสาธารณสุข

๒.     จัดตั้งชมรมคนรักสุขภาพเน้นการออกกำลังกายแก่ประชาชนทุกเพศทุกวัย

๓.     ส่งเสริมให้ประชาชนปลูกพืชผักสวนครัว

๔.     ส่งเสริม/รณรงค์การออมเงินแก่ประชาชน

๕.     ส่งเสริมให้ประชาชนตรวจสุขภาพประจำปี

๖.     ส่งเสริมให้ประชาชนเลี้ยงสัตว์

๗.     รณรงค์ให้ประชาชนสมัครเป็นสมาชิกกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต

๘.     โครงการลดละเลิกอบายมุข

๙.     ส่งเสริมให้ประชาชนทำบัญชีรายรับ-รายจ่ายของครัวเรือน

๑๐. โครงการจัดเวทีปรับแผนชุมชน

๑๑. โครงการกิจกรรมวันพัฒนา

๑๒. ส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ของสมาชิกกลุ่มออมทรัพย์ฯเพื่อพัฒนามาตรฐานการบริหารจัดการกลุ่ม

๑๓. ส่งเสริมวิถีชีวิตตามหลักคุณธรรม ๕ ประการ แก่สมาชิกกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต

๑๔. สร้างวินัยการออมและการใช้จ่ายเงินแก่ครัวเรือน

๑๕. ปรับปรุงภูมิทัศน์หมู่บ้าน

๑๖. ขยายช่องทางการรับสื่อเพื่อการรับรู้ข้อมูลข่าวสาร

๑๗. ส่งเสริมบทบาทของอาสาพัฒนาชุมชนในการพัฒนาหมู่บ้าน

๑๘. ให้ความรู้ด้านยาเสพติดและการป้องกันปัญหาจากยาเสพติด

๑๙. รณรงค์ลดเลิกอบายมุข

๒๐.รณรงค์การปลูกต้นไม้ในหมู่บ้านและที่สาธารณะ

๒๑. ส่งเสริมให้ครัวเรือนในการปรับปรุงสภาพบ้านเมืองให้น่าอยู่เพื่อมุ่งสู่ โครงการเมืองสวย บ้านสะอาด คนสุขภาพดี

๒๒.ฝึกอบรมศักยภาพคณะกรรมการพัฒนาสตรีหมู่บ้าน(กพสม.)

๒๓.พัฒนาวัด

๒๔.ปรับปรุงสภาพแวดล้อมชุมชน

25.เผยแพร่ข่าวสารทางหอ

กระจายข่าว

๑.      ประชุมชี้แจงทำความเข้าใจให้ประชาชนมีความรู้ตระหนักถึงสุขภาพ

๒.      จัดกิจกรรมการออกกำลังกายในกลุ่มประชาชนทุกเพศทุกวัย

๓.      จัดเวรยามรักษาความปลอดภัยในหมู่บ้าน

๔.      ส่งเสริมการปลูกพืชฤดูแล้ง

๕.      ประชุมชี้แจง/อบรมและส่งเสริมการจัดทำบัญชีรับ-จ่ายครัวเรือน

๖.      ฝึกอบรมอาชีพแก่กลุ่มสตรี/กลุ่มอาชีพในชุมชน

๗.      ประชุมชี้แจงทำความเข้าใจให้ทราบถึงโทษของการทำลายทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

๘.      สนับสนุนกลุ่มอาชีพเลี้ยงสุกร

๙.      ฝึกอบรมให้ความรู้แก่กรรมการกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต

๑๐.  จัดเวรยามประจำหมู่บ้าน

๑๑.  โครงการอบรมการทำปุ๋ยหมักชีวภาพ

๑๒.  โครงการอบรมการทำน้ำยา

๑๓.  ล้างจาน

๑๔.  ศึกษาดูงานด้านอาชีพ

๑๕.  เพิ่มพูนทักษะแก่กลุ่มออมทรัพย์

๑๖.  จัดกิจกรรมรดน้ำดำหัวผู้สูงอายุในวันกตัญญู

๑๗.  ประชุมประจำปีสมาชิกกลุ่มออมทรัพย์

๑๘.  ปรับปรุงวัดเพื่อให้เป็นศูนย์รวมจิตใจ

๑๙.  เพิ่มศักยภาพองค์กรสตรีระดับหมู่บ้าน

๒๐.  จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อพัฒนาอาชีพสตรีแก่กลุ่มอาชีพ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

แนวโน้ม/ทิศทางการพัฒนาหมู่บ้าน

 

 

 

 

วิสัยทัศน์หมู่บ้าน

 

หมู่บ้านส่งเสริมคุณภาพชีวิต ตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงเฉลิมพระเกียรติ

หมู่บ้านมีสาธารณูปโภค ด้านไฟฟ้าและประปาใช้ครบทุกครัวเรือน

การคมนาคมในหมู่บ้านมีความสะดวก

ประชาชนในหมู่บ้านมีสุขภาพดี

บ้านเรือน/ชุมชนมีความสะอาดน่าอยู่ น่ามอง ไร้ขยะ

มีธนาคารหมู่บ้าน

มีศูนย์เรียนรู้ชุมชนต้นแบบ

มีกองทุนสวัสดิการ

 

ยุทธศาสตร์การพัฒนา

vส่งเสริมการดำเนินชีวิต ตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

vส่งเสริมให้เป็นหมู่บ้านปลอดขยะโดยการจัดทำโครงการธนาคารขยะรีไซเคิล

vส่งเสริมการทำการเกษตรปลอดสารเคมี

vสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่น

vดูแลผู้สูงอายุ คนพิการ และคนด้อยโอกาส

 

อัตลักษณ์ชุมชน และการกำหนดตำแหน่งการพัฒนา (Positioning ) ของหมู่บ้าน

เป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง “อยู่เย็นเป็นสุข”

หมู่บ้านปลอดยาเสพติด และเป็นหมู่บ้านไร้ขยะ

ตำแหน่งการพัฒนาหมู่บ้าน  (Positioning )

          การพัฒนาหมู่บ้านให้เป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง อยู่เย็น เป็นสุข โดยส่งเสริมการปลูกพืชผักสวนครัว       และส่งเสริมการรวมกลุ่มประกอบอาชีพเสริม

 

 

view

 หน้าแรก

 สินค้า

 บทความ

 รวมรูปภาพ

 เว็บบอร์ด

 ติดต่อเรา

view