http://dlcd2.igetweb.com
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com

 หน้าแรก

 บทความ

 รวมรูปภาพ

 เว็บบอร์ด

 ติดต่อเรา

สถิติ

เปิดเว็บ22/04/2015
อัพเดท01/11/2017
ผู้เข้าชม29,317
เปิดเพจ44,532
สินค้าทั้งหมด10

ข้อมูลทั่วไป

ข้อมูล พช. ดงหลวง

งานบริการ/ภารกิจ

กิจกรรมเด่น

องค์ความรู้ชุมชน

VDR / TDR

หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง

ภาคีเครือข่าย

โครงการแก้จน

ข้อมูลพื้นฐานหมู่บ้าน

เชื่อมโยงลิงค์

สินค้า

 สินค้า OTOP

ปฎิทิน

« April 2024»
SMTWTFS
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930    
iGetWeb.com
AdsOne.com

ถอนบทเรียนองค์ความรู้ KM

ถอนบทเรียนองค์ความรู้  KM

แบบบันทึกองค์ความรู้                                                 

ชื่อ – นามสกุล         นายถนัด   ม่วงนาคำ

ตำแหน่ง                  นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ

สังกัด                      สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอดงหลวง  จังหวัดมุกดาหาร

เบอร์โทรศัพท์ที่ติดต่อได้สะดวก    ๐๙๘-๖๒๐๕๒๖๕

ชื่อเรื่อง        การสนับสนุนกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต

เป็นการแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับ       การบริหารจัดการกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต

เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นเมื่อ      ปี พ.ศ.  ๒๕๕๙

สถานที่เกิดเหตุการณ์       หมู่ ๔  ตำบลชะโนดน้อย  อำเภอดงหลวง   จังหวัดมุกดาหาร

เนื้อเรื่อง

ในเดือน มี.ค. พ.ศ. ๒๕๕๙  ข้าพเจ้าได้รับคำสั่งกรมการพัฒนาชุมชน ให้ย้ายมาปฏิบัติหน้าที่ ที่สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอดงหลวง จังหวัดมุกดาหาร  เมื่อมารายงานตัวเรียบร้อยแล้ว  ท่านพัฒนาการอำเภอฯ(นายพัฒนา  วงศ์ประทุม)  ได้เมอบหมายให้ข้าพเจ้ารับผิดชอบตำบลชะโนดน้อย และตำบลหนองบัว  โดยตำบลชะโนดน้อย มี ๙ หมู่บ้าน  และตำบลหนองบัว มี ๘ หมู่บ้าน  เมื่อข้าพเจ้าได้ลงพื้นที่ และศึกษาสภาพชุมชน  รวมทั้งข้อมูลต่างๆ ที่จะต้องดำเนินการต่อจากพัฒนากรคนก่อน  ได้พบว่า มีกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตบ้านดอนชาด หมู่ที่ ๔ ตำบลชะโนดน้อย  ได้ถูกคัดเลือกจากอำเภอดงหลวง  ให้เข้าร่วมโครงการพัฒนากลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต สู่ระดับมาตรฐาน (SMART Saving Group SSG )  ประจำปี ๒๕๕๙ และกลุ่มฯนี้ ก็ได้รับการติดตามประเมินผลจากสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดฯ มาแล้วในรอบที่  ๑ เมื่อปลายปี ๒๕๕๘ ซึ่งก็พบว่ายังมีตัวชี้วัดบางตัว ที่ยังไม่ผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนด   จำเป็นต้องมีการพัฒนา และการสนับสนุนจากอำเภอและจังหวัด  ซึ่งก็เป็นหน้าที่ของข้าพเจ้าในฐานะพัฒนากรตำบล  ที่จะต้องประสานคณะกรรมการฯ   โดยเฉพาะตัวประธานฯ ซึ่งก็คือนายทิพย์  คำมุงคุณ  เพื่อรับทราบและเตรียมดำเนินการ ให้คำแนะนำ และสนับสนุนช่วยเหลือในบางเรื่องที่กลุ่มออมทรัพย์ฯยังขาดอยู่  เพื่อให้กลุ่มออมทรัพย์ฯก ลุ่มนี้ ได้รับการพัฒนา ปรับปรุงตัวชี้วัดที่สำคัญ  จนสามารถผ่านเกณฑ์การประเมินฯ ในรอบที่ ๒ ไปได้ในที่สุด

บันทึกขุมความรู้ (Knowledge Assets)

-กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต เป็นงานของกรมการพัฒนาชุมชน โดยถือว่าเป็นมรดกตกทอดที่กรมฯจะต้องดูแลรับผิดชอบ

-กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต เป็นการผสมผสานระหว่างแนวคิดของสหกรณ์การเกษตร/ เครดิตยูเนียน และสินเชื่อเพื่อ  การเกษตร

-มีการบริหารงานในรูปแบบของคณะกรรมการกลุ่มฯ  โดยมีวาระในการดำรงตำแหน่ง

-มีระเบียบข้อบังคับของกลุ่มออมทรัพย์ฯ เป็นลายลักษณ์อักษรเพื่อใช้ในการบริหารจัดการกลุ่มฯ

 

แก่นความรู้ (Core Competency)

-การดำเนินงานของกลุ่มออมทรัพย์ฯ เป็นการรวมตัวของประชาชน บริหารจัดการโดยประชาชน และเพื่อประโยชน์ของสมาชิกและชุมชน

-หัวใจหลักของการดำเนินงานกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต   ก็คือการดำเนินงานโดยยึดหลักคุณธรรม ๕ ประการ

 

กลยุทธ์ในการทำงาน

1.ศึกษาข้อมูลและสภาพปัญหา

ข้าพเจ้า ได้ประสานกับคณะกรรมการกลุ่มฯ  เพื่อประชุมพูดคุยและรับทราบปัญหาของตัวชี้วัดต่างๆ ที่ยังไม่ผ่านเกณฑ์

 

 

 

2.ปรึกษาหารือ

ข้าพเจ้าได้เข้าร่วมประชุมกับคณะกรรมการกลุ่มฯ เพื่อชี้แจง และหาวิธีการ พร้อมให้คำแนะนำ  รวมทั้งจัดหาแบบฟอร์มตามแนวทางของกรมฯ ให้กับกรรมการกลุ่มฯ รับไปดำเนินการต่อเพื่อให้ตัวชี้วัดบางตัว ที่สามารถแก้ไขได้ก่อนเป็นลำดับแรก

 

3.หาข้อยุติ

หลังจากข้าพเจ้า ได้ประสานประธานกลุ่มฯ  และออกไปติดตาม เยี่ยมเยียน ให้คำแนะนำในการด้านการบริหารจัดการฯ  และช่วยให้ตัวชี้วัดบางตัว สามารถผ่านการประเมินฯในรอบที่ ๒ ได้ในที่สุด

4.ชี้แจงด้วยความรอบคอบและมีเหตุผล

ข้าพเจ้าได้ยกตัวอย่างของกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต ที่ประสบผลสำเร็จ และมีความเข้มแข็งในการดำเนินงาน  โดยชี้ให้เห็นว่า กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตเป็นกิจกรรมที่มีนานหลายปีแล้ว ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2517  และหากหมู่บ้านของเรา มีกลุ่มออมทรัพย์ฯที่เข้มแข้ง ก็จะเป็นผลดีให้กับสมาชิก และเป็นแหล่งทุนชุมชนที่มั่นคงและสำคัญของหมู่บ้านเราได้ต่อไปในอนาคต

5.สร้างความพึงพอใจ

ข้าพเจ้าได้พยายามชี้แจงให้คณะกรรมการฯ รับทราบตรงกันว่าการดำเนินงานของกลุ่มฯ  ให้ถูกต้องและเป็นไปในแนวทางของกรมการพัฒนาชุมชน  ซึ่งก็ต้องยอมรับว่า เวลาระยะก็เป็นสิ่งสำคัญ

 6.งานสัมฤทธิผล

กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตบ้านดอนชาด  สามารถผ่านเกณฑ์การประเมินมาตรฐาน SSG  โดยเฉพาะเกณฑ์ S (Standard) จำนวน  ๑๐  ตัวชี้วัด ในนกาประเมินผลฯ ครั้งที่ ๒ ได้ในที่สุด

กฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง

1.แนวทางการดำเนินงานกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

2.คู่มือการดำเนินงานกลุ่มมออมทรัพย์เพื่อการผลิตของกรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

3.หลักการทำงานกรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงหมาดไทย

 

view

 หน้าแรก

 สินค้า

 บทความ

 รวมรูปภาพ

 เว็บบอร์ด

 ติดต่อเรา

view