http://dlcd2.igetweb.com
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com

 หน้าแรก

 บทความ

 รวมรูปภาพ

 เว็บบอร์ด

 ติดต่อเรา

สถิติ

เปิดเว็บ22/04/2015
อัพเดท01/11/2017
ผู้เข้าชม29,285
เปิดเพจ44,500
สินค้าทั้งหมด10

ข้อมูลทั่วไป

ข้อมูล พช. ดงหลวง

งานบริการ/ภารกิจ

กิจกรรมเด่น

องค์ความรู้ชุมชน

VDR / TDR

หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง

ภาคีเครือข่าย

โครงการแก้จน

ข้อมูลพื้นฐานหมู่บ้าน

เชื่อมโยงลิงค์

สินค้า

 สินค้า OTOP

ปฎิทิน

« April 2024»
SMTWTFS
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930    
iGetWeb.com
AdsOne.com

คัดสรรหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง "อยู่เย็น เป็นสุข"

คัดสรรหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง "อยู่เย็น เป็นสุข"

สรุปผลการดำเนินงานหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบบ้านขัวสูง
หมู่ที่ 5 ตำบลกกตูม อำเภอดงหลวง จังหวัดมุกดาหาร

๑. ข้อมูลทั่วไป
๑.๑. ประวัติหมู่บ้าน
ราษฎรบ้านขัวสูง อพยพถิ่นฐานมาจากเมืองบกเมืองวัง สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ผู้ริเริ่มก่อตั้งหมู่บ้านนี้คนแรก คือ นายกุน และนายสีพัน ได้ตั้งรกรากอยู่บริเวณป่าผาง (ติดกับห้วยบางทรายน้อย) เมื่อ 134 ปีมาแล้ว ต่อมามีราษฎรบ้านกระแต้ (บ้านป่าไม้พัฒนาในปัจจุบัน) ย้ายมาตั้งถิ่นฐานรวมกับประชากรของหมู่บ้านเดิม ประกอบกับมีการสร้างสะพานไม้ข้ามห้วยบางทรายน้อย ซึ่งเป็นสะพานที่มีความสูงมาก (สะพานภาษาภูไทเรียกว่า ขัว) จึงมีการตั้งชื่อหมู่บ้านว่าบ้านขัวสูง
ในปี พ.ศ. 2516 มีผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ ได้ทำการเผาทำลายสะพานไม้ทิ้งไป และเมื่อเหตุการณ์สงบ หน่วยงานราชการจึงดำเนินการก่อสร้างสะพานคอนกรีตขึ้นมาใหม่
วิถีชีวิต ชาวบ้านขัวสูง มีวิถีชีวิตเรียบง่ายอยู่กันฉันพี่น้อง และแบบเครือญาติโดยมีศาสนาและพระสงฆ์ เป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจนับถือศาสนาพุทธ
ลำดับของงานประเพณีที่สำคัญของชาวบ้านขัวสูงประพฤติปฏิบัติมาจนจึงทุกวันนี้มี ดังนี้
๑) เดือนอ้าย หมายถึง เดือนที่ ๑ ซึ่งตรงกับเดือน ธันวาคม ได้แก่บุญปริวาสกรรม เป็นบุญเข้ากรรมของพระสงฆ์หลังจากออกพรรษาแล้ว
๒) เดือนยี่ หมายถึง เดือนที่ ๒ ซึ่งตรงกับเดือน มกราคม ได้แก่ บุญคูณลาน (บุญกลุ่มข้าว) ซึ่งชาวนาเมื่อเสร็จจากการเกี่ยวข้าวแล้วก็นำข้าวมารวมกันเป็นกองใหญ่ๆที่ยังไม่ทันได้นวด แล้วตระเตรียมหาเครื่องสังฆทาน อาหารคาวหวาน เพื่อถวายแด่พระสงฆ์ที่นิมนต์มาสวดปาริตมงคลเพื่อเป็นการบูชาคุณเจ้าแม่โพสพ
๓) เดือนสาม หมายถึง เดือนที่ ๓ ซึ่งตรงกับเดือนกุมภาพันธ์ ได้แก่บุญข้าวจี่และบุญเดือน ๓ ขึ้น ๓ ค่ำ ซึ่งหลังจากเกี่ยวผลผลิตในนาเสร็จแล้วนำข้าวเหนียวที่สุกแล้วมาปั้นเป็นก้อนๆ เอาไปย่างไฟทาไข่แล้วนำไปถวายพระสงฆ์เพื่ออุทิศส่วนกุศลแด่บุพกาลีที่ล่วงลับไปแล้ว สำหรับบุญเดือน ๓ ขึ้น ๓ ค่ำ คือปีใหม่ของชาวบ้านขัวสูงที่ยึดถือมาตั้งแต่บรรพบุรุษและยังเป็นการเซ่นไหว้หลักบ้าน (คือเจ้าปู่ตา) และวันนั้นถือเป็นวันสำคัญในการทำขวัญข้าว ขวัญวัว ควาย เพื่อเป็นสิริมงคลตอบแทนบุญคุณ
๔) เดือนสี่ หมายถึง เดือนที่ ๔ ซึ่งตรงกับเดือน มีนาคม กิจกรรมคือ บุญพระเวสหรือบุญมหาชาติก่อนที่จะถึงวันบุญมหาชาติต้องเตรียมเครื่องสักการบูชา ผึ้งพัน น้ำมันเพื่อบูชาคาถาในการเทศน์เรื่องพระเวสสันดรชาดก ที่สำคัญก่อนจะถึงวันงานจะต้องมีการอันเชิญอุปครุฑ คำว่าอุปครุฑ คือ ความเชื่อของชาวบ้านดอนสวรรค์ที่ยึดถือว่าเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์อย่างหนึ่งนำมาประกอบกิจกรรมในงานเพื่อปกปักรักษาไม่ให้เกิดสิ่งชั่วร้ายต่างๆ
๕) เดือนห้า หมายถึง เดือนที่ ๕ ซึ่งตรงกับเดือน เมษายน ได้แก่รถน้ำดำหัวคนเฒ่าคนแก่ พ่อแม่ และถือว่าเป็นปีใหม่ของชาวบ้านขัวสูง ตำบลกกตูม
๖) เดือนหก หมายถึง เดือนที่ ๖ ซึ่งตรงกับเดือน พฤษภาคม ได้แก่บุญบ้องไฟ วันวิสาขบูชา
๗) เดือนเจ็ด หมายถึง เดือนที่ ๗ ซึ่งตรงกับเดือน มิถุนายน ได้แก่การทำบุญชำฮะ บุญชำฮะ หมายถึงบุญชำระชะล้างสิ่งของที่ไม่ดีในชุมชน หมู่บ้าน ซึ่งทำการหว่านหิน หว่านทรายในแต่ละหลังคาเรือนเพื่อ
ความอยู่เย็นเป็นสุข
๘) เดือนแปด หมายถึง เดือนที่ ๘ ซึ่งตรงกับเดือน กรกฎาคม ได้แก่บุญเข้าพรรษา
๙) เดือนเก้า หมายถึง เดือนที่ ๙ ซึ่งตรงกับเดือน สิงหาคม ได้แก่บุญข้าวประดับดิน คือทำบุญเพื่อบูชาคุณแผ่นดินและบุพกาลี
๑๐) เดือนสิบ หมายถึง เดือนที่ ๑๐ ซึ่งตรงกับเดือน กันยายน ได้แก่บุญข้าวสาก บุญข้าวสากของทุกปีจะต้องตรงกับ วันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๐ ทุกหลังคาเรือนจะต้องเตรียมข้าวปลาอาหารหวาน คาว เพื่อเป็นการถวายพระส่วนหนึ่ง อีกส่วนหนึ่งจะมาทำเป็นห่อๆ แล้วไปถวายพระและเพื่อนำบุญกุศลไปสู่บุพกาลี
๑๑) เดือนสิบเอ็ด หมายถึง เดือนที่ ๑๑ ซึ่งตรงกับเดือน ตุลาคม ได้แก่บุญออกพรรษา
๑๒) เดือนสิบสอง หมายถึง เดือนที่ ๑๒ ซึ่งตรงกับเดือน พฤศจิกายน คือบุญกฐิน
ภูมิปัญญาท้องถิ่น
๑) จักสานไม้ไผ่ หวดนึ่งข้าว กระติบข้าว
๒) การถนอมอาหาร
๓) การทำดอกไม้จันทน์
๔) เศรษฐกิจพอเพียง
๕) การปลูกกล้วย
๖) การทำปุ๋ยหมักชีวีภาพ
พืชเศรษฐกิจ
1) ปลูกยางพารา
2) ปลูกอ้อย
3) ปลูกมันสำปะหลัง
4) ข้าว
5) ปลูกหวาย
6) ปลูกกล้วย

๑.๒ สภาพทั่วไป
บ้านขัวสูง ตำบลกกตูม อำเภอเมือง จังหวัดมุกดาหาร ตั้งอยู่ทางทิศเหนือติดกับอำเภอเต่างอย จังหวัดสกลนคร ทิศตะออกติดกับบ้านกกกอก อำเภอดงหลวง จังหวัดมุกดาหาร ทิศตะวันตกกับบ้านโคกกลาง อำเภอเต่างอย จังหวัดสกลนคร ทิศใต้ติดกับบ้านป่าไม้พัฒนา อำเภอดงหลวง จังหวัดมุกดาหาร โดยมีระยะทางห่างจากตัวอำเภอประมาณ 60 กิโลเมตร เส้นทางหลวงแผ่นดิน หมายเลข ๒๒87 ผ่าน มีเนื้อที่ทั้งหมดประมาณ 4,000 ไร่
พื้นที่อยู่อาศัย 100 ไร่ พื้นที่ทำการเกษตร 2,500 ไร่ ทำนาปีละ 1 ครั้ง
พื้นที่ทำนา 300 ไร่ พื้นที่ทำสวน 1,100 ไร่

สภาพภูมิประเทศ
พื้นที่โดยทั่วไปเป็นที่ราบสูงอยู่ในหุบเขา มีห้วยบางทรายเป็นแหล่งน้ำที่สำคัญ ส่วนใหญ่ปลูกมันสำปะหลัง ปลูกยางพารา อ้อย
อุณหภูมิ
บ้านขัวสูง มีภูมิอากาศเย็นสบายเนื่องจากมีภูเขาล้อมรอบ อุณหภูมิเฉลี่ย ๒5 องศาเซนเซียส ประมาณเดือน เมษายน อุณหภูมิสูงสุดประมาณ 40 องศาเซนเซียส ฤดูฝน เริ่มประมาณ เดือน พฤษภาคม – เดือน ตุลาคม ของทุกปี
การคมนาคม
จัดอยู่ในสภาพที่ดีพอสมควรเพราะมีทางหลวงแผ่นดินสาย ๒๒87 ผ่าน ซึ่งเป็นเส้นทางหลักในการติดต่อระหว่างหมู่บ้าน ตำบล อำเภอ และจังหวัด สะดวกสบายทุกฤดูกาลตลอดปี ในหมู่บ้านมีถนนคอนกรีต ครบทุกสาย
ข้อมูลสิ่งปลูกสร้าง
โรงเรียนประถม ........1.......แห่ง รพ.สต. .......1.......แห่ง
วัด.......๒.....แห่ง คือ วัดขัวสูง วัดถ้ำพระผาป่อง ที่อ่านหนังสือพิมพ์หมู่บ้าน.....-......แห่ง
ประปา.........1.......แห่ง ศาลาประชาคม.......1.......แห่ง
หอกระจ่ายข่าว.........1........แห่ง
ศาลาพักน้ำดื่ม.........1.........แห่ง
หน่วยธุรกิจในหมู่บ้าน
ธนาคาร.......-.......แห่ง โรงสีข้าว........2.....แห่ง
โรงแรม......-.......แห่ง ร้านเสริมสวย........-....แห่ง
ปั๊มน้ำมัน.......-.....แห่ง ร้านซ่อมจักรยานยนต์......2....แห่ง
๑.๓ พื้นที่
พื้นที่ทั้งหมด ๑,๒๘๗ ไร่ แบ่งออกเป็น พื้นที่การเกษตร ๑,๑๔๗ ไร่ ที่อยู่อาศัย ๑00 ไร่ พื้นที่สาธารณะ ๑๓ ไร่ แหล่งน้ำ มีห้วยบางทรายไหล่ผ่าน
๑.4 จำนวนครัวเรือนประชากร
มีจำนวนครัวเรือนทั้งสิ้นที่อาศัยอยู่จริง 162 ครัวเรือน จำนวนประชากรทั้งสิ้น 438 คน เป็นชาย ๒20 คน หญิง 218 คน (ตามข้อมูล จปฐ. 2560)

แบ่งการบริหารในรูปรูปแบบคุ้ม มี จำนวน 6 คุ้ม ดังนี้
1) คุ้มตะวันยอแสง คณะกรรมการคุ้ม
- นายเชียน แก้วสุวรรณ หัวหน้าคุ้ม
- นางเลียม ฮ่มภูงอย รองหัวหน้าคุ้ม
- นายสมร คงไชย กรรมการ
- นายจี แดนรัก กรรมการ
- นายพล แก้วสุวรรณ กรรมการ

2) คุ้มโรงเรียน คณะกรรมการคุ้ม
- นางทองแท่น งอยภูธร หัวหน้าคุ้ม
- น.ส.สำราญ เงินนาม รองหัวหน้าคุ้ม
- น.ส.ประภัสสร นนคำวงค์ กรรมการ
- น.ส.สุภาลักษณ์ เงินนาม กรรมการ
- นายสมหวัง สิมสินธุ์ กรรมการ

3) คุ้มทานตะวัน คณะกรรมการคุ้ม
- น.ส.พาณิชย์ แก้วสุวรรณ หัวหน้าคุ้ม
- นายมงคล แก้วสุวรรณ รองหัวหน้าคุ้ม
- นางอ่างทอง เจริญพร กรรมการ
- นางสิงห์คำ เจริญพร กรรมการ
- นายสิมมา เงินนาม กรรมการ

4) คุ้มภูผานาง คณะกรรมการคุ้ม
- นางปริญญา นีระเคน หัวหน้าคุ้ม
- นายไพริน แก้วสุวรรณ์ รองหัวหน้าคุ้ม
- น.ส.พันทะวี แก้วสุวรรณ์ กรรมการ
- นางวิไลรัตน์ พรวินิช กรรมการ
- น.ส.มินตรา เงินนาม กรรมการ

5) คุ้มภูผาแอก คณะกรรมการคุ้ม
- นายบุญเฮ็ง แก้วสุวรรณ์ หัวหน้าคุ้ม
- น.ส.แพน แก้วสุวรรณ์ รองหัวหน้าคุ้ม
- นางวน แก้วสุวรรณ์ กรรมการ
- นายสุดใจ สงมา กรรมการ
- นายเรืองศรี เขื่อนพงค์ กรรมการ

6) คุ้มบ้านน้อยรวมใจ คณะกรรมการคุ้ม
- นายล้อม แก้วสุวรรณ์ หัวหน้าคุ้ม
- นางนรินทร์รัตน์ กลางยศ รองหัวหน้าคุ้ม
- นายประถม แก้วสุวรรณ์ กรรมการ
- นางเม แก้วสุวรรณ กรรมการ
- นางสุวรรณา แก้วสุวรรณ์ กรรมการ


๑.๖ ข้อมูลทางสังคม
สถานศึกษา มีโรงเรียนตั้งอยู่ภายในเขตพื้นที่ของหมู่บ้าน จำนวน 1 แห่ง คือ โรงเรียนบ้านขัวสูง
วัด มี ๒ แห่ง มีชื่อว่า “วัดขัวสูง” และ “วัดถ้ำพระผาป่อง”
ภาษาที่ใช้ ภูไท และ อีสานทั่วไป ชาวบ้านนับถือศาสนาพุทธ ทุกหลังเรือน มี วัดขัวสูงและวัดถ้ำพระผาป่องเป็นศูนย์รวมจิตใจ
อาชีพหลัก ทำนา อาชีพรอง ปลูกมันสำปะหลัง ปลูกอ้อย ปลูกยางพารา รับจ้างทั่วไป
รายได้เฉลี่ย จากการสำรวจข้อมูล จปฐ. ปี ๒๕60 เฉลี่ย ๔๕,๒๕๐ บาท/คน/ปี

อาสาพัฒนาชุมชน (อช.)
๑) พ.ต.สะอาด ฮวดจึง
๒) นายปริญญา นีระเคน
๓) น.ส.แพน แก้วสุวรรณ์
๔) นางนรินทร์รัตน์ กลางยศ
โดยมีนายยุทธภูมิ พงขจร และนางอัญชลี อุณวงศ์ เป็นผู้นำอาสาพัฒนาชุมชนตำบลกกตูม

คณะกรรมการกองทุนแม่ของแผ่นดิน จำนวน 15 คน
๑) นางรพีพรรณ หลาบโพธิ์ ประธาน
๒) น.ส.จินตนา แก้วสุวรรณ รองประธาน
๓) นายสิมมา เงินนาม เหรัญญิก
๔) นางนิภาพร แก้วสุวรรณ์ เลขานุการ
๕) นางสาคร แก้วสุวรรณ์ กรรมการ
๖) น.ส.สาวิตรี งอยหล้า กรรมการ
๗) น.ส.พัชราภรณ์ แก้วสุวรรณ์ กรรมการ
๘) น.ส.สุภาลักษณ์ เงินนาม กรรมการ
๙) นางวิไลวรรณ รานอก กรรมการ
๑๐) นางนรินทร์รัตน์ กลางยศ กรรมการ
๑๑) นางเลี่ยม ฮ่มภูงอย กรรมการ
๑๒) นางแวน เขื่อนแก้ว กรรมการ
๑๓) นางสุวรรณา แก้วสุวรรณ กรรมการ
๑๔) นางไว จิตนอก กรรมการ
๑๕) นางไสว แก้วสุวรรณ์ กรรมการ


คณะกรรมการกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต หมู่ที่ 5 ( กพสม.) จำนวน 13 คน
๑) นางรพีพรรณ หลาบโพธิ์ ประธาน
๒) นางนิภาพร แก้วสุวรรณ์ รองประธาน
๓) น.ส.จินตนา แก้วสุวรรณ เลขานุการ
๔) น.ส.ใจสวรรค์ แก้วสุวรรณ์ เหรัญญิก
๕) นางนรินทร์รัตน์ กลางยศ ประชาสัมพันธ์
๖) นางไสว แก้วสุวรรณ์ กรรมการ
๗) น.ส.ประภัสสร นนคำวงค์ กรรมการ
๘) น.ส.พาณิชย์ แก้วสุวรรณ์ กรรมการ
๙) น.ส.มินตรา เงินนาม กรรมการ
๑๐)น.ส.ศรีนุช แก้วพิกุล กรรมการ
๑๑)น.ส.วาสนา พิชัยคำ กรรมการ
๑๒)น.ส.ขวัญฤดี เงินนาม กรรมการ
๑๓) นางวิไลรัตน์ พรวินิช กรรมการ

คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้าน (กทบ) จำนวน 15 คน
1) น.ส.แพน แก้วสุวรรณ์ ประธาน
2) นายณรงค์เดช แก้วสุวรรณ์ รองประธาน
3) น.ส.นันทนา เงินนาม เหรัญญิก
4) น.ส.ใจสวรรค์ แก้วสุวรรณ์ เลขานุการ
5) น.ส.มินตรา เงินนาม กรรมการ
6) น.ส.สุกานดา คงไชย กรรมการ
7) นายอเนก แก้วสวุรรณ์ กรรมการ
8) น.ส.ขวัญฤดี เงินนาม กรรมการ
9) นายวิมลรัก แก้วสุวรรณ์ กรรมการ
10)นายสมพงษ์ แก้วสุวรรณ์ กรรมการ
11)นางแจ่มจันทร์ โกนโท กรรมการ
12)นางวิไลรัตน์ พรวินิจ กรรมการ
13)นางภาค เงินนาม กรรมการ
14)น.ส.ขมใน แก้วสุวรรณ์ กรรมการ
15)น.ส.พิมพิไล ไชยเทพ กรรมการ

คณะกรรมการโครงการแก้ไขปัญหาความยากจน (กข.คจ.) จำนวน 9 คน
1) นางรพีพรรณ หลาบโพธิ์ ประธาน
2) นางเกี้ยว แก้วสุวรรณ์ รองประธาน
3) น.ส.จินตนา แก้วสุวรรณ เลขานุการ
4) น.ส.ใจสวรรค์ แก้วสุวรรณ เหรัญญิก
5) น.ส.นิภาพร แก้วสุวรรณ์ กรรมการ
6) นางแวน เขื่อนแก้ว กรรมการ
7) นางวันเพ็ญ นีระเคน กรรมการ
8) นางวิไลรัตน์ พรวินิช กรรมการ
9) นางเตือนใจ แก้วสุวรรณ์ กรรมการ

อาสาธารณสุขมูลฐานชุมชน (อสม.)
๑) นายปริญญา นีระเคน ประธาน
๒) น.ส.พาณิชย์ แก้วสุวรรณ์ เหรัญญิก
๓) นางแจ่มจันทร์ โกนโท เลขานุการ
๔) นางไสว แก้วสุวรรณ์ กรรมการ
๕) นายพึง แก้วสุวรรณ์ กรรมการ
๖) นายนอ เงินนาม กรรมการ
๗) นายสายัน เจริญพร กรรมการ
๘) น.ส.ปิยะนันท์ เงินนาม กรรมการ
๙) น.ส.ปภัสสุดา เงินนาม กรรมการ
๑๐) นางเม แก้วสุวรรณ์ กรรมการ
๑๑) นางยิ้ม แก้วสุวรรณ กรรมการ

ปราชญ์ชาวบ้านและบุคลต้นแบบในชุมชน
๑) พ.ต.สะอาด ฮวดจึง ปราชญ์สัมมาชีพด้านทำปุ๋ยหมักชีวภาพ
๒) นายสิมมา เงินนาม ปราชญ์สัมมาชีพด้านทำปุ๋ยหมักชีวภาพ
๓) นายพึง แก้วสุวรรณ์ ปราชญ์สัมมาชีพด้านทำปุ๋ยหมักชีวภาพ
๔) นายเท แก้วสุวรรณ์ ปราชญ์สัมมาชีพด้านทำปุ๋ยหมักชีวภาพ
๕) นายประหยัด แก้วสุวรรณ์ ปราชญ์สัมมาชีพด้านทำปุ๋ยหมักชีวภาพ
๖) น.ส.พาณิชย์ แก้วสุวรรณ์ ปราชญ์สัมมาชีพด้านถนอมอาหาร (กล้วยฉาบ)
๗) นางอ่อนมา สายสุพรรณ เกษตรผสมผสาน

บุคลสำคัญ/ผู้บริหาร
๑) พระครูโสภณ ขันติพลากร เจ้าอาวาสวัดถ้ำพระผาป่อง
๒) พระอธิการมานพ เจ้าอาวาสวัดขัวสูง
๓) นางรพีพรรณ หลาบโพธิ์ ผู้ใหญ่บ้านขัวสูง
๔) พ.ต.สะอาด ฮวดจึง ปราชญ์สัมมาชีพชุมชน
๕) นายเรืองศรี เขื่อนพงค์ ที่ปรึกษา
๖) นางทองแท่น งอยภูธร ที่ปรึกษา

๑.๗ ข้อมูลผู้นำชุมชน
ผู้ใหญ่บ้าน นางรพีพรรณ หลาบโพธิ์
ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน ๑. น.ส.จินตนา แก้วสุวรรณ
๒. นางนิภาพร แก้วสุวรรณ์
๓. นายสิมมา เงินนาม
๑.๘ ข้อมูลด้านการเมืองและการปกครอง
บ้านขัวสูง หมู่ที่ 5 มีนางรพีพรรณ หลาบโพธิ์ เป็นผู้ใหญ่บ้าน มีคณะกรรมการหมู่บ้าน จำนวน ๑๐ คน ประกอบด้วย
๑) นางรพีพรรณ หลาบโพธิ์ ประธาน
๒) น.ส.จินตนา แก้วสุวรรณ รองประธานคนที่ 1
๓) นางนิภาพร แก้วสุวรรณ์ รองประธานคนที่ 2
๔) นายสิมมา เงินนาม เลขานุการ
๕) นายจี แดนรัก ผู้ช่วยเลขานุการ
๖) นายปริญญา นีระเคน เหรัญญิก
๗) นายเชียน แก้วสุวรรณ ประชาสัมพันธ์
๘) นายเรืองศรี เขื่อนพงค์ ผู้ทรงคุณวุฒิ
๙) นายสุดใจ สงมา ผู้ทรงคุณวุฒิ
๑๐) นางนรินทรํรัตน์ กลางยศ ปฏิคม
11) นางวิไลวรรณ รานอก กรรมการ
12) น.ส.สุภาลักษณ์ เงินนาม กรรมการ
13) นางแพน แก้วสุวรรณ กรรมการ
14) นางวิไลรัตน์ พรวินิช กรรมการ

๒. ผลการดำเนินงานตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ
ด้านจิตใจและสังคม
๑.ประชาชนมีความสามัคคีและความร่วมมืออันดีระหว่างกัน มีกิจกรรมที่ร่วมกันดำเนินการ ดังนี้
๑.๑ การประชุม/การจัดเวทีประชาคม
- การประชุมประจำเดือนของหมู่บ้านเฉลี่ยอย่างน้อยเดือนละ ๑ ครั้ง
- การจัดประชาคมที่สำคัญ เช่น
๑) เรื่องการปรับปรุงทบทวนแผนชุมชน
๒) เรื่องการจัดกิจกรรมในวันสำคัญและกิจกรรมการพัฒนาในหมู่บ้าน
๓) เรื่องการขับเคลื่อนหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง
๔) เรื่องการจัดกิจกรรมงานบุญผ้าป่าวัดถ้ำพระผาป่อง วัดขัวสูง
๕) เรื่องการส่งเสริมการขับเคลื่อนการพัฒนาตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
๖) เรื่องการเตรียมการประกวดคัดสรรกิจกรรมเครือข่ายพัฒนาชุมชนดีเด่น
๗) เรื่องการเตรียมการต้อนรับนักศึกษาแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมจากประเทศญี่ปุ่น
๘) เรื่องการดำเนินโครงการชุมชนเกื้อกูล เพิ่มพูนน้ำใจ สร้างวิถีไทยสามัคคี


๑.๒ ในรอบปี มีกิจกรรมที่จัดเพื่อส่วนรวมในหมู่บ้านตามแนวทางชุมชนเกื้อกูล เพิ่มพูนน้ำใจ สร้างวิถีไทยสามัคคี คือ
๑) กิจกรรมพัฒนาสิ่งสาธารณประโยชน์ในหมู่บ้านเช่นทำความสะอาดถนน แหล่งน้ำ การตัดแต่งต้นไม้ การทำรั้วบ้าน การทำความสะอาดศาลาประชาคม
๒) กิจกรรมการพัฒนาและซ่อมแซมสิ่งสาธารณะประโยชน์ เช่น ศาลาวัด ศาลาประชาคม ถนน
๓) กิจกรรมการปลูกป่าปีละ ๒ ครั้ง (๑๒ สิงหาคม และ ๕ ธันวาคม) การพัฒนาแหล่งน้ำ
4) กิจกรรมต้อนรับนักศึกษาแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมจากประเทศญี่ปุ่น


๒. หมู่บ้านมีข้อตกลงกำหนดเป็นข้อปฏิบัติของหมู่บ้าน
ชุมชนมีวิธีการบริหารจัดการชุมชนเพื่อการสืบทอดและรักษาจารีตประเพณีเพื่อความสงบสุข
ชุมชนมี ข้อปฏิบัติ เรียกว่า กฎระเบียบของหมู่บ้านข้อบังคับตามติประชาคมหมู่บ้าน
๑. ผู้ใดยิงปืนโดยไม่มีสาเหตุอันควรปรับ ๑๐๐ บาทขึ้นไป
๒. ผู้ใดลักเล็กขโมยน้อยทรัพย์สินอันมีค่าของผู้อื่นปรับ ๑๐๐ บาทขึ้นไป
๓. ผู้ใดก่อเหตุทะเลาะวิวาท หรือก่อความวุ่นวายในหมู่บ้านปรับ ๑๐๐ บาทขึ้นไป
๔. ผู้ใดวางเพลิงโดยเจตนาหรือประมาทอันทำให้ทรัพย์สินผู้อื่นหรือที่สาธารณะเกิดความเสียหายปรับ ๒๐๐ บาทขึ้นไป หรือตามความเหมาะสม
๕.ผู้ใดขับขี่ยานพาหนะอันเป็นที่หวาดเสียวในหมู่บ้าน หรือและส่งเสียงรบกวนฝ่าฝืนปรับครั้งละ ๕๐-๑๐๐ บาทขึ้นไป
๖. ผู้ใดปล่อยสัตว์เลี้ยงไปทำลายพืชผลทางการเกษตรของผู้อื่นได้รับความเสียหายปรับ ๑๐๐ บาทขึ้นไป หรือตามแต่คู่กรณีตกลงเรียกร้องตามความเหมาะสมแห่งกรณีและ หรือเหตุ
๗. ผู้ใดเล่นการพนันในหมู่บ้านปรับคนละ ๑๐๐-๕๐๐ บาทขึ้นไป
๘. ผู้ใดมั่วสุมหรือเข้าไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติดทุกชนิดในหมู่บ้าน สถานที่สาธารณะ หรือสถานที่ส่วนบุคคล
๘.๑ ว่ากล่าวตักเตือนถ้าไม่ฟังปรับ ๑๐๐ บาทขึ้นไปถ้าทำอีกดำเนินการตามข้อ ๘.๒
๘.๒ แจ้งเจ้าหน้าที่ตำรวจดำเนินการตามกฎหมาย
๙.ผู้ใดไม่ให้ความร่วมมือในการประชุมหรือไม่ร่วมกิจกรรมในหมู่บ้านติดต่อกัน ๓ ครั้ง จะไม่นำมาพิจารณาให้การสงเคราะห์จากภาครัฐหรือหน่วยงานอื่นๆปล่อยสัตว์เลี้ยงไปทำลายพืชผลทางการเกษตรของผู้อื่นได้รับความเสียหายปรับ ๑๐๐ บาทขึ้นไป หรือตามแต่คู่กรณีตกลงเรียกร้องตามความเหมาะสมแห่งกรณีและ หรือเหตุ
๑๐.บุคคลใด หรือครัวเรือนใดไม่เข้าร่วมกิจกรรม หรือเข้าร่วมน้อยกว่า ๖ ครั้งต่อปีจะไม่ให้กู้ยืมเงินกองทุนต่างๆของหมู่บ้าน
๑๑.การใช้สถานที่ในศาลาประชาคมในการประชุม สัมมนา ฝึกอบรมของหน่วยงานภาครัฐ/เอกชนต้องเสียค่าบำรุงสถานที่ครั้งละ ๒๐๐ บาท/วัน
๑๒.ผู้ใดลักลอบจับสัตว์น้ำทั้งในฤดูวางไข่หรือนอกฤดูก็ตามในหนองน้ำสาธารณะ เช่น ห้วยผักแพว หนองกะจ้อน หนองบุ่งแดง
๑๒.๑ ถ้าจับโดยที่ไม่มีเครื่องมือ หรืออุปกรณ์ที่จะสร้างความเสียหายอย่างร้ายแรงว่ากล่าวตักเตือนก่อน
๑๒.๒ ถ้าใช้ไฟฟ้าช็อตใช้เครื่องมืออื่นๆ ที่สร้างความเสียหายอย่างร้ายแรง การใช้สารเคมีหรือสารพิษจากพืชก็ตามเพื่อจับสัตว์น้ำ ปรับ ๒,๐๐๐ บาทขึ้นไปและจับดำเนินคดีตามกฎหมาย
๑๓. ห้ามตัดไม้ทำลายป่า บุกรุกแผ้วถางป่า ป่าสาธารณะ ป่าชุมชน ฝ่าฝืนปรับ ๒,๐๐๐ บาทขึ้นไป
๑๓.๑ ห้ามจุดไฟเผาป่า หรือล่าสัตว์ในกรณีใดก็ตามที่ทำให้เกิดเชื้อเพลิงที่สุ่มเสี่ยงให้เกิดไฟไหม้ ปรับ ๕๐๐ บาทขึ้นไป
๑๓.๒ ในกรณีเข้าไปในป่าชุมชน เพื่อหาของป่า เช่น เห็ด หน่อไม้ ผักหวาน มาประกอบอาหาร ห้ามถือเลื่อย ขวาน เข้าไปในป่าโดยเด็ดขาด
๑๓.๓ ห้ามนำพืชสมุนไพร กล้วยไม้ และสิ่งที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติออกมาเพื่อครอบครองโดยเด็ดขาดฝ่าฝืนปรับ ๑๐๐ บาทขึ้นไป
๑๓.๔ ห้ามบุคคลใดๆที่ไม่ใช่บุคคลในหมู่บ้านเข้าไปหาผลประโยชน์ในพื้นที่ป่าชุมชนโดยมิได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการป่าชุมชน ฝ่าฝืนปรับ ๒,๐๐๐ บาทขึ้นไป
๑๓.๕ กรณีบุคคลภายนอกหมู่บ้าน นอกพื้นที่จะเข้าหาผลประโยชน์จากป่าชุมชน เช่น เก็บเห็ด หน่อไม้ ผักหวาน เป็นต้น ต้องเสียค่าธรรมเนียม ๑๐ บาทต่อครั้งต่อคน
๑๓.๖ คนในหมู่บ้านสามารถเข้าไปหาผลประโยชน์จากป่าชุมชนได้ตามความจำเป็นและเหมาะสม เช่น หาเห็ด หาหน่อไม้ ผักหวาน เป็นต้น โดยไม่เสียค่าธรรมเนียมใดๆ
๑๓.๗ ในกรณีที่จะเข้าไปหาไม้ฟืนนำมาเป็นเชื้อเพลิงหุงหาอาหาร สามารถทำได้เฉพาะไม้ที่ตายแล้วและเป็นไม้แห้งเท่านั้น
๑๔. ห้ามทิ้งขยะในบริเวณที่สาธารณะ หรือที่ชุมชน ฝ่าฝืนปรับ ๒๐๐ บาทขึ้นไป
๑๕. ห้ามเลี้ยงสัตว์จนก่อให้เกิดมลภาวะต่อชุมชน เช่น ส่งกลิ่นรบกวนต่อชุมชนจนเป็นที่เดือดร้อนในขั้นต้นจะแนะนำแนวทางการปฏิบัติก่อน-ว่ากล่าวตักเตือน-ถ้ายังไม่แก้ไขปรับ ๒๐๐ บาทต่อวัน
๑๖. ห้ามดื่มสุรา หรืออบายมุขต่างๆ ในวัดและงานศพ ฝ่าฝืนปรับ ๕๐๐ บาทต่อครั้งต่อคน
ใช้หลักการประชาคมหมู่บ้าน เสนอข้อคิดเห็น ข้อตกลง แล้วจึงประกาศใช้ เมื่อปี พ.ศ. ๒๕57 ข้อปฏิบัติ หรือการสร้างความเข้าใจกับสมาชิกในหมู่บ้าน โดยการจัดทำป้ายถาวรประกาศไว้ในที่ชุมชนจำนวน ๑ ป้าย
๓. หมู่บ้าน มีกองทุนเพื่อสวัสดิการของชุมชนเพื่อให้บริการแก่สมาชิกดังนี้
๓.๑ กองทุนฌาปนกิจสงเคราะห์หมู่บ้าน/ตำบล โดยร่วมกับบ้านขัวสูง หมู่ที่ 5 หมู่บ้านจัดเก็บจากสมาชิกละ 50 บาท/ครัวเรือน (เก็บตามบ้านเลขที่) รวมค่าสงเคราะห์ครั้งละ 8,750 บาท
๓.๒ กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองบ้านขัวสูง มีสมาชิก ๑43 คน เงิน กองทุน ๒,๒00,๐๐๐ บาทจัดสรรเป็นเงิน สวัสดิการ ๕ ‰ เสียชีวิต ๕๐๐ บาท สงเคราะห์ผู้สูงอายุ และคนพิการ ทุนการศึกษาเด็กนักเรียน
๔. หมู่บ้านยึดมั่นในหลักประชาธิปไตย
๔.๑ การจัดเวทีประชาคมมีตัวแทนคนในครัวเรือนเข้าร่วมเวทีประมาณร้อยละ ๘๐ ของครัวเรือนที่อยู่จริง ในหมู่บ้านมีวิธีการเชิญชวนประชาชนเข้าร่วมประชุมแสดงความคิดเห็นเพื่อหามติ ข้อตกลงในการดำเนินงานให้เสียงส่วนมากเป็นที่ยอมรับ ต้องฟังเหตุผลจากเสียงส่วนน้อยด้วย
๔.๒ นำมติ ข้อตกลง ที่ประชุม ประชาสัมพันธ์ทางหอกระจายข่าว เพื่อให้ประชาชนทั่วไปทราบ
๔.๓ การสื่อสารให้ประชาชนในชุมชนรับทราบผลการประชุมโดยตัวแทนคุ้มขยายผล
๔.๔ คนในหมู่บ้านที่มีสิทธิเลือกตั้ง จำนวน ๓๔๑ คน ผู้ไปใช้สิทธิเลือกตั้งหลังสุด ๓๑๗ คน ร้อยละ ๙๓
๕. หมู่บ้าน มีหลักคุณธรรม จริยธรรม ในการดำเนินชีวิตร่วมกัน
๕.๑ คนในหมู่บ้าน ได้แสดงออกถึงความศรัทธาในหลักปฏิบัติของศาสนา เข้าร่วมในกิจกรรมเพื่อการก่อเกิดความเข้าใจในคำสอนของศาสนา สร้างความเชื่อและศรัทธาเพื่อกล่อมเกลาจิตใจให้เหมาะสมกับค่านิยมของสังคม เช่น การเข้าร่วมในกิจกรรมทางศาสนาที่ชุมชนจัดขึ้น หรือกิจกรรมตามวันสำคัญทางศาสนา เช่น ทุกวันพระ


๕.๒ คนในหมู่บ้านปฏิบัติต่อกันด้วยความมีมนุษยสัมพันธ์ เคารพยกย่อง ให้เกียรติ แสดงกิริยาต่อกันตามวัฒนธรรมประเพณีท้องถิ่นหรือตามมารยาทไทย เช่น การไหว้ การขอโทษ การขอบคุณและอื่นๆ การช่วยเหลือเกื้อกูล แบ่งปัน ด้วยความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างกันทั้งชุมชน
๕.๓ คนในครัวเรือนมีการแบ่งปัน ช่วยเหลือ เกื้อกูลยกย่องให้เกียรติลักษณะเด่นที่แสดงให้เห็นชัดเจน เช่น
การเคารพปู่ ย่า ตา ยาย บิดามารดาผู้อาวุโส ของชุมชน

๖. คนในครอบครัวมีความอบอุ่น ชุมชนมีความปลอดภัย
๖.๑ หมู่บ้านปลอดยาเสพติด มีกิจกรรมการจัดการกับปัญหายาเสพติดโดยการรณรงค์ให้ความแก่กลุ่มเยาวชน
การทำป้ายการอบรมครอบครัวพัฒนา การจัดกิจกรรมป้องกันในโรงเรียน การอยู่เวรยามในชุมชน และ
เป็นหมู่บ้านสีขาวปลอดยาเสพติด
๖.๒ ในรอบปี หมู่บ้านมีกระบวนการส่งเสริมการ ลดละ เลิกอบายมุข กิจกรรมการ
ส่งเสริมการลดละ เลิกเช่น กิจกรรมงดเหล้าในงานศพโครงการธรรมสัญจรป้ายรณรงค์
๖.๓ คนในหมู่บ้านไม่ดื่มสุรา ผ่านเกณฑ์ จปฐ. ข้อ 24 ร้อยละ 85
๖.๔ คนในหมู่บ้านไม่สูบบุหรี่ร้อยละ 81 (ผ่านเกณฑ์ จปฐ. ข้อ 25 )
๖.๕ คนในหมู่บ้านไม่ติดการพนัน ๑๐๐ %
๖.๖ กิจกรรมส่งเสริมการสร้างครอบครัวให้อบอุ่นการจัดกิจกรรมวันกตัญญู กิจกรรมครอบครัวพัฒนา
๗. คนในหมู่บ้านมีความเชื่อมั่นในปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
๗.๑ คนในหมู่บ้านได้รับการเรียนรู้ มีความเข้าใจ ยอมรับและนำหลักการตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้เป็นแนวทางในการดำรงชีวิต
๗.๒ หมู่บ้านจัดให้มีกิจกรรมในการส่งเสริมความรู้ ความเข้าใจ และการยอมรับในหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ให้แก่คนในหมู่บ้าน ในรูปแบบต่างๆ เช่น การฝึกอบรม การศึกษาดูงาน การปฏิบัติตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง การสาธิตกิจกรรมต่างๆ เพื่อการดำรงชีวิตอย่างพอประมาณ เพื่อการพึ่งตนเอง
๗.๓ในระดับครัวเรือน นำปรัชญาของเศรษฐกิจพอพียงไปปรับใช้ในครัวเรือน ด้วยการเริ่มด้วยการทำบัญชีรับ-จ่าย ในครัวเรือน ทุกครัวเรือนทำให้ได้รู้ตัวเอง จึงเริ่มด้วนกิจกรรม ดังนี้
๑. กิจกรรมลดรายจ่าย เช่น ปลูกพืช เลี้ยงสัตว์ เพื่อเป็นอาหารในครัวเรือน กิจกรรมตรวจสอบการใช้จ่ายประจำวันและลดการใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น
๒. กิจกรรมเพิ่มรายได้ เช่น การแปรรูป พัฒนาผลิตภัณฑ์ กิจกรรมเสริมรายได้ลดต้นทุน
การผลิตในกิจกรรมของครัวเรือน เลือกใช้วิชาการ เครื่องมือที่สามารถเรียนรู้ ใช้งานได้เหมาะสมกับกิจกรรมและไม่กระทบกับฐานะทางเศรษฐกิจ สำหรับช่วยในการประกอบอาชีพเพื่อสร้างผลผลิตและผ่อนแรง
๓. กิจกรรมการประหยัด มีการแบ่งรายได้เพื่อการสะสมทุนของครัวเรือน ในรูปแบบต่างๆ และสมัครเข้าเป็นสมาชิกกลุ่มกองทุนต่างๆ ของชุมชน เช่น กองทุนหมู่บ้าน กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต
๔. กิจกรรมการเรียนรู้ การทบทวนและเพิ่มพูนความรู้ ความเชี่ยวชาญในงานการอาชีพที่ทำประจำวัน แลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างครัวเรือนที่มีกิจกรรม อาชีพคล้ายกัน เพื่อลดรายจ่ายในครัวเรือนด้วยการปลูกผักสวนครัวใน ปลูกกล้วย ทำปุ๋ยหมักชีวภาพ ฮอร์โมนบำรุงพืช ถนอมอาหาร (กล้วยฉาบ)

๕. กิจกรรมการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ด้วยการปรับปรุงสิ่งแวดล้อมในบริเวณบ้านให้สะอาด เรียบร้อยป้องกันการเกิดโรคระบาด ปลูกไม้ดอก ไม้ประดับ และพืชพันธุ์ไม้ที่ครัวเรือนต้องการ รวมทั้งเข้าร่วมในกิจกรรมการอนุรักษ์ ฟื้นฟู พัฒนาสิ่งแวดล้อมของชุมชน ที่เป็นกิจกรรมของส่วนรวมอยู่เสมอ
๖. การแบ่งปัน เอื้ออารี ทั้งกับคนในครัวเรือนและเพื่อนบ้าน สละสิ่งของแบ่งปัน เช่น พืชผักสวนครัวของใช้ในครัวเรือน อาหาร ครัวชุมชน สวัสดิการจากกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต ร้อยละ ๑๐ กองทุนหมู่บ้านร้อยละ ๑๐

ด้านเศรษฐกิจ
7. ครัวเรือนมีการจัดทำบัญชีครัวเรือน
กิจกรรมการส่งเสริมให้มีการจัดทำบัญชีรับ-จ่าย
๑. อบรมให้ความรู้การจัดทำบัญชีรายรับ-รายจ่ายของครัวเรือน
๒. สนับสนุนเอกสารบัญชีครัวเรือนและจัดทำบัญชีครัวเรือคิดเป็น ร้อยละ ๘๐
8. หมู่บ้านมีกิจกรรมลดรายจ่ายและสร้างรายได้
๑. ครัวเรือนในหมู่บ้าน มีกิจกรรมเพื่อการลดรายจ่าย ในชีวิตประจำวัน เช่น การสมุนไพรในหมู่บ้านแปรรูปทำเป็นสบู่สมุนไพร เพื่อเพิ่มมูลค่า สร้างราคา จำหน่ายเป็นรายได้ของครอบครัวได้ การทำน้ำยาล้างจาน น้ำยาซักผ้าใช้ในครัวเรือน
๒. ครัวเรือนมีการผลิตและการอุปโภค/บริโภคเพื่อใช้ในชีวิตประจำวันกิจกรรมส่วนใหญ่ที่ครัวเรือนทำ
๑) อาชีพหลักที่ทำประจำทำนา ทำสวนยางพารา ปลูกมันสำปะหลัง ปลูกอ้อย
๒) อาชีพเสริมที่ทำปลูกพืช เลี้ยงสัตว์
๓) การบริหารจัดการกลุ่มอาชีพให้เข้มแข็ง
๔) การจัดตั้งกลุ่มอาชีพอื่น ๆ
๕) ครัวเรือนมีการใช้ปุ๋ยชีวภาพในการเพาะปลูก
9. หมู่บ้านมีการรวมกลุ่มเพื่อพัฒนาอาชีพหลักของหมู่บ้าน
๑. คนในครัวเรือนร่วมเป็นสมาชิกในกลุ่มต่างๆ ในหมู่บ้าน
๒. กลุ่ม/องค์กรในหมู่บ้าน/ชุมชนมีการพัฒนาทักษะด้านการประกอบอาชีพ และมีกระบวนการจัดการองค์ความรู้ลักษณะกิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ๑.เป็นแหล่งศึกษาดูงาน ๒.เป็นวิทยากรถ่ายทอดองค์ความรู้ให้หมู่บ้านอื่น ๆ
๑0. หมู่บ้าน มีการออมหลากหลายรูปแบบ
๑. ครัวเรือนมีการเก็บออมเงิน ร้อยละ ๙๐ ของครัวเรือนทั้งหมด
๒. หมู่บ้าน/ชุมชนมีกลุ่มออมทรัพย์และ/หรือกองทุนการเงินอื่นๆ คือ
๑) กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต มีสมาชิกจำนวน ๑37 คน จัดตั้งเมื่อวันที่ 7 มีนาคม ๒๕60 โดยมีนางรพีพรรณ หลาบโพธิ์ เป็นประธาน มีกิจกรรมการออมเงิน มีเงินสัจจะออมทรัพย์จำนวน 17,๐๐๐ บาท
๒) กองทุนหมู่บ้าน มีสมาชิกจำนวน ๑43 คน จัดตั้งเมื่อปี พ.ศ. ๒๕44 มีนางสาวแพน แก้วสุวรรณ์ เป็นประธาน มีกิจกรรมการปล่อยกู้เงิน การรับฝาก
๓) โครงการแก้ไขปัญหาความยากจน นางรพีพรรณ หลาบโพธิ์ เป็นประธาน มีกิจกรรมการจำหน่ายสินค้าอุปโภค บริโภค อุปกรณ์ทางการเกษตร


๑1. หมู่บ้านมีการดำเนินการสร้างรายได้ในรูปแบบกลุ่ม
หมู่บ้าน/ชุมชนมีจัดตั้งกลุ่ม คือกลุ่มปลูกหวาย เลี้ยงหมู โดยมีนางสิงห์คำ เจริญพร หน่วยป่าไม้ฯ อุทยานจากอุบลราชธานีเข้ามาพัฒนา และได้ของบประมาณ จำนวน 30,000 บาท มีสมาชิกเริ่มแรก จำนวน 30 คน ปัจจุบันได้มีการปลูกหวาย เพื่อจำหน่ายและพืชเศรษฐกิจของหมู่บ้านขัวสูง และได้รับความนิยมจากคนในชุมชนและผู้ที่ผ่านไปมา จึงทำให้คนในชุมชนหันมาปลูกเพื่อจำหน่ายมากขึ้น และสร้างรายได้ให้ชุมชนเป็นอย่างดี

ด้านการเรียนรู้
๑2. หมู่บ้านมีระบบฐานข้อมูลชุมชน
ข้อมูลของหมู่บ้าน เช่น จปฐ. กชช ๒ ค บัญชีรับ – จ่ายครัวเรือน ข้อมูลด้านการเกษตร ข้อมูลด้านสุขภาพ ข้อมูลด้านเศรษฐกิจ ข้อมูลที่หมู่บ้านที่จัดทำขึ้นเป็นการเฉพาะเพื่อใช้ประโยชน์ตามสถานการณ์หมู่บ้าน/ชุมชนมีกระบวนการจัดเก็บ รวบรวม วิเคราะห์สังเคราะห์ข้อมูลต่างๆ ของหมู่บ้าน/ชุมชนครบทุกขั้นตอน ดังนี้
- มีการประชุมเพื่อสร้างความเข้าใจ ฯกิจกรรมที่ปฏิบัติและหลักฐานการ
ปฏิบัติ การจัดประชาคมชี้แจงสร้างความเข้าใจ
- จัดเก็บโดยอาสาสมัครการมอบหมายให้ อช. ผู้นำ อช. อสม. ผู้นำคุ้ม ชุมชน จัดเก็บ
- บันทึก/ประมวลผลกิจกรรมที่ปฏิบัติและหลักฐานการปฏิบัติ การบันทึกข้อมูลที่ ทต. กกตูม
- การประชาคมเพื่อรับรองผลกิจกรรมที่ปฏิบัติ
- จัดทำสำเนาข้อมูลเก็บไว้ที่ศูนย์เรียนรู้ของหมู่บ้าน
๑3. หมู่บ้าน มีการใช้ประโยชน์จากข้อมูลและแผนชุมชน
๑. หมู่บ้านมีการนำข้อมูลมาใช้ในการตัดสินใจเพื่อการพัฒนาหมู่บ้าน เช่น การจัดทำแผนชุมชนแผน การพัฒนากลุ่ม/องค์กรนำผลการวิเคราะห์ข้อมูลและสภาพปัญหาเสนอเวทีประชาคม และหาแนวทางแก้ไขร่วมกัน กำหนดแนวทาง แผนงานโครงการและงบประมาณ กำหนดในแผนชุมชน
๒. หมู่บ้านสามารถนำกิจกรรมในแผนชุมชนไปปฏิบัติจริง

ตัวอย่างโครงการที่ปฏิบัติไปแล้ว

ที่
กิจกรรม/โครงการ
ระยะเวลา
ดำเนินการ ลักษณะกิจกรรม/โครงการ
จำนวนงบประมาณ
แหล่งที่มางบประมาณ
ทำ
เอง ทำ
ร่วม ทำ
ให้
๑. การจัดทำบัญชีครัวเรือน ม.ค.  -
๒. เข้าวัดฟังธรรม ม.ค.-ธ.ค.  -
๓. การจัดเวรยามในชุมชน ม.ค.-ธ.ค.  3,000 ชุมชน
๔. สร้างลานคอนกรีต รพ.สต. ม.ค.  8,000 รพ.สต.ชุมชน
๕. การแข่งขันกีฬาชุมชน เม.ย.  2,000 ทต.กกตูม
๖. การปรับแผนชุมชน มี.ค.  -
๗. จัดทำข้อมูลชุมชน มี.ค.  -
๘. ซ่อมแซมระบบประปาหมู่บ้าน เม.ย.  ๑0๐,๐๐๐ โครงการส่งเสริมความเป็นอยู่ฯ
9. ปลูกป่าชุมชน เม.ย.  -
๑0 กิจกรรมสร้างชุมชนเกื้อกูล
-กิจกรรมหน้าบ้านน่ามอง
-ถนนสวย
-ครัวชุมชน
-ปรับปรุงภูมิทัศน์ภายในหมู่บ้าน ม.ค.-ธ.ค.  - ชุมชน
รวมทั้งสิ้น ๑0 กิจกรรม/โครงการ 8 ๑ 1 113,000

๑4. หมู่บ้านมีการค้นหาและใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น
หมู่บ้านมีกระบวนการ สืบค้น รวบรวมจัดหมวดหมู่และเรียนรู้จากความรู้หรือภูมิปัญญาดั้งเดิมที่มีอยู่ในท้องถิ่นและใช้ประโยชน์เพื่อเพิ่มคุณค่าหรือมูลค่า
วิธีการค้นหาความรู้และการจดบันทึก
๑) วางแผนการสืบค้นและบันทึก
๒) การเยี่ยมเยียน การนัดหมาย การสัมภาษณ์ การจดบันทึก การสรุปข้อมูล
๓) ตั้งคำถามสำหรับสัมภาษณ์
๔) สืบค้นข้อมูล
๕) บันทึกข้อมูล ประเมินข้อมูล สรุปข้อมูล จัดทำบทสรุปองค์ความรู้ที่ได้จากการสืบค้น
วิธีการสืบทอดและการถ่ายทอดสู่คนรุ่นหลัง
๑. แบบในครอบครัว จากพ่อ แม่สู่ ลูก และแบบเรียนรู้ด้วยตัวเอง โดยเรียนรู้แบบทักษะ แบบลองผิดลองถูก
๒. แบบเพื่อนสอนเพื่อนภายในกลุ่มอาชีพ
๓.แบบที่จัดโดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เป็นแบบการฝึกอบรมที่หน่วยงานต่างๆ มีโครงการ หลักสูตร กำหนดการ และการเชิญวิทยากรมาให้ความรู้และฝึกประสบการณ์ตามตารางฝึกอบรม วิธีการนำไปปรับใช้งาน
๔. การทำฮอร์โมนผลไม้ปราบศัตรูพืช
การนำผัก ผลไม้ที่เหลือกิน หรือเศษผักผลไม้ นำมาหมักใส่ถังพลาสติก เพื่อนำมาทำฮอร์โมน ไล่ศัตรูพืชแทนการใช้สารเคมี และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมสารขับไล่แมลงเป็นส่วนใหญ่
๑5. หมู่บ้านมีการจัดตั้งแหล่งเรียนรู้
๑. ครอบครัวพัฒนาต้นแบบต้นแบบ
๒. ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง แหล่งเรียนรู้เรื่องปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง การปลูกมะนาวนอกฤดู การเลี้ยงหมูหลุม การเลี้ยงวัวหลุม การใช้สมุนไพรไล่แมลงแทนสารเคมี
๓. ศูนย์เรียนรู้กองทุนแม่ของแผ่นดิน แหล่งเรียนรู้เรื่องการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด
๔. ฐานการเรียนรู้ระบบการบริหารจัดการเงินทุนชุมชน กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต แหล่งเรียนรู้เรื่องการดำเนินงานกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต


๕. แหล่งเรียนรู้ด้านยาสมุนไพร
๖. ครอบครัวพัฒนา “การทำเกษตรผสมผสาน”

๗. โครงการส่งเสริมการเลี้ยงไก่งวงพัฒนาคุณภาพชีวิตเศรษฐกิจพอเพียง จากกิจกรรมสาธิตการขยายผลการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง ปี 2559 โดยสำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอดงหลวง เป็นหน่วยงานเจ้าภาพหลักในการดำเนินกิจกรรม และ สำนักงานปศุสัตย์อำเภอดงหลวงเป็นหน่วยสนับสนุนด้านวิชาการ มีสมาชิก จำนวน 10 ครัวเรือน ไก่งวงแม่พันธุ์พ่อพันธุ์ จำนวน 40 ตัว
ปัจจุบันมีปริมาณไก่งวงเพิ่มขึ้นจากโครงการฯ จากเดิมจำนวน 362 ตัว และขยายให้สมาชิกในหมู่บ้าน อีกจำนวน 10 ครัวเรือน เป็นทั้ง 20 ครัวเรือน ในปี 2560 ขยายให้บ้านน้อง คือ บ้านป่าไม้พัฒนา ม.10 ต.กกตูม เพื่อสร้างการพัฒนาและเครือข่ายการเลี้ยงไก่งวงเพื่อเพิ่มรายได้ให้กับสมาชิกต่อไป

๑6. หมู่บ้านมีการใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมกับศักยภาพของหมู่บ้าน หมู่บ้านมีกิจกรรมการเรียนรู้และถ่ายทอดเทคโนโลยีและวิทยาการใหม่ ๆ โดยกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่จัดขึ้นคือ
๑. การฝึกอบรมเรื่องการตรวจคัดกรอง ค้นหาผู้ป่วยโรคเบาหวานในชุมชนการตรวจมะเร็งเต้านม
๒. การฝึกอบรมทำดอกไม้จันทน์
๓. การฝึกอบรมเรื่องการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ
๔. การฝึกอบรมการทำและใช้สารไล่แมลงจากยาสูบ
๕. ฝึกอบรมการทำกระถางปลูกผักจากยางรถยนต์เก่า
๖. การฝึกอบรมการทำและใช้สารไล่ยุงจากทลายปาล์มและสมุนไพร
๗. โครงการขับเคลื่อนการพัฒนาตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ตามยุทศาสตร์ที่ ๑
ซึ่งคนในหมู่บ้านที่ได้เรียนรู้แล้วนำไปใช้อย่างเหมาะสมและเกิดความคุ้มค่า
๑7. หมู่บ้านมีการสร้างเครือข่ายภาคีการพัฒนา หมู่บ้านมีการเชื่อมโยงเครือข่ายการเรียนรู้ระดับกลุ่ม/เครือข่าย เพื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับหมู่บ้านหน่วยงาน องค์กรสถาบันการศึกษาดังนี้
๑. ศูนย์เรียนรู้กองทุนแม่ของแผ่นดินบ้านจอมณีเหนือ แลกเปลี่ยน/เรียนรู้เรื่อง การป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด
๒. เครือข่ายกองทุนหมู่บ้านตำบลกกตูม อำเภอเมืองมุกดาหาร จังหวัดมุกดาหาร แลกเปลี่ยน/เรียนรู้เรื่อง การดำเนินงานกองทุน
๓. ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงบ้านจอมณีเหนือ นายกีรติ ภาคภูมิ เป็นสถานที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านเศรษฐกิจพอเพียง
๑8. หมู่บ้านมีการปฏิบัติตามหลักการของการพึ่งตนเอง
๑. หมู่บ้าน สามารถแก้ไขปัญหาของชุมชนได้ด้วยตนเอง ดังนี้
๑) การแก้ปัญหาในชุมชนโดยไม่ใช้งบประมาณ ปัญหาเรื่อง ขยะและสภาพแวดล้อมชุมชนโดยการรณรงค์ประชาสัมพันธ์ให้คนในชุมชนมีส่วนร่วมในการดำเนินการ รักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบบริเวณบ้านตัวเอง
๒) การแก้ปัญหาในชุมชนโดยไม่ใช้งบประมาณ ปัญหาเรื่อง การลดรายจ่าย โดยการปลูกพืชผักสวนครัวรั้วกินได้ มีการบันทึกบัญชีครัวเรือนเพื่อนำไปสู่การวางแผนชีวิตและชุมชน
๒. หมู่บ้านมีการจัดทำแผนชุมชนโดยกระบวนการเรียนรู้ของชุมชนขั้นตอนการจัดทำแผนพัฒนาของหมู่บ้าน มีดังนี้
๑) การเตรียมทีมงาน หาทีมงานในการสำรวจข้อมูล นำเสนอปัญหาและความต้องการของชุมชน ภาคีร่วมพัฒนาเป็นที่ปรึกษาชุมชน
๒) การสำรวจและรวบรวมข้อมูล
๓) การยกร่างแผนชุมชน
ทีมงานนำข้อมูลและข้อเสนอของชุมชน พิจารณารวบรวมและตรวจสอบประเภทของแผนงานและโครงการ โดยแบ่งเป็น ๓ ประเภท คือ
- แผนชุมชนที่ชุมชนสามารถดำเนินการเอง
- แผนชุมชนที่ หน่วยราชการต้องเข้าไปช่วยดำเนินการร่วมกันชุมชน
- แผนชุมชนที่หน่วยราชการ /องค์กรภายนอกชุมชนเข้าไปดำเนินการให้
๔) การประชาพิจารณ์แผนชุมชน
ทีมงานนำร่างแผนชุมชน เข้าสู่เวทีประชาคมของคนในชุมชน เพื่อพิจารณาร่วมและตรวจสอบเพื่อให้เกิดการยอมรับซึ่งกันและกัน
๖) การนำแผนไปสู่การปฏิบัติ

ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
19. หมู่บ้านมีจิตสำนึกของการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม หมู่บ้าน มีกิจกรรมให้ความรู้ด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่จัดขึ้น คือ
19.๑ การให้ความรู้โดยการอบรม
๑) การอบรมเรื่อง เศรษฐกิจพอเพียง ผู้เข้าอบรม 1๕๐ คน
๒) การอบรมเรื่อง การทำกล้วยฉาบ ผู้เข้าอบรม ๕๐ คน
๓) การอบรมเรื่อง การทำปุ๋ยหมักชีวภาพ ผู้เข้าอบรม ๓๐ คน
๔) การอบรมเครือข่ายป่าชุมชน ผู้เข้าอบรม ๑๐๐ คน
๔) การให้ความรู้โดยการจัดทำป้ายอื่น ๆ
19.๒ การประชาสัมพันธ์ รณรงค์ให้มีการจัดกิจกรรมในวันสำคัญต่าง ๆ
19.๓ การประชุมอบรม สร้างจิตสำนึก
19.๔ การกำหนดเขตอนุรักษ์ เช่น ป่าชุมชน
๒0. หมู่บ้านมีกลุ่ม/องค์กรด้านสิ่งแวดล้อม
-หมู่บ้านมีกลุ่มที่คนในหมู่บ้านร่วมกันทำกิจกรรมเพื่ออนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และเชื่อมโยงเป็นเครือข่าย กับกลุ่ม/องค์กรด้านสิ่งแวดล้อมอื่น ๆ เพื่อการบริหารจัดการยึดหลักการมีส่วนร่วม กลุ่มคนรักป่า ป่ารักชุมชน มีนางรพีพรรณ หลาบโพธิ์ ประธานกรรมการ
-หมู่บ้านมีการเชื่อมโยงเป็นเครือข่ายด้านทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม เช่น การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ข้อมูลข่าวสารมีการทำกิจกรรมร่วมกันของแต่ละกลุ่มทั้งในและนอกหมู่บ้านหรือชุมชน

กิจกรรมที่ทำ ข้อมูล /ข่าวสาร/ฝีมือ
ที่แลกเปลี่ยนเปลี่ยนเชื่อมโยงกัน หน่วยงาน กลุ่ม
บุคคลที่ร่วมงานกัน
๑.การปลูกป่าและดูแลป่าชุมชน การปลูกป่าและดูแลป่าชุมชน ป่าไม้,ทต. กม.
๒.การสร้างฝายชะลอน้ำ การสร้างฝายชะลอน้ำ ป่าไม้,ทต. กม.เยาวชน


๒1. หมู่บ้านมีการใช้พลังงานทดแทนที่สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมของชุมชน
หมู่บ้านจัดให้มีกิจกรรมรณรงค์ สร้างจิตสำนึกการใช้พลังงานอย่างพอประมาณ ในครัวเรือนสามารถดำเนินการได้เอง เช่น
๑. การลดการใช้พลังงานไฟฟ้า เช่น การเปลี่ยนหลอดเป็นหลอดไฟฟ้าแบบประหยัดพลังงาน ปรับซ่อมอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ใช้พลังงานมาก
๒. การลดการใช้พลังงานจากเชื้อเพลิง เช่น การเดิน การใช้จักรยานแทนรถยนต์ในการเดินทางที่ระยะทางไม่ไกล
๓. การใช้ฮอร์โมนผลไม้ปราบศัตรูพืช
๔. การทำหมักชีวภาพแทนปุ๋ยเคมี

๔. หมู่บ้านมีการสร้างมูลค่าเพิ่มจากทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กิจกรรมที่ดำเนินการ
๑) การปลูกป่าชุมชน เพิ่มมูลค่าของครัวชุมชน
๒) การสานกระเป๋าจากซองกาแฟ
๓) การแปรรูปกล้วย เช่น กล้วยทอด กล้วยฉาบ
๔) การทำปุ๋ยชีวภาพ การทำน้ำหมักชีวภาพ

กลยุทธ์การขับเคลื่อนหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ
บ้านขัวสูง หมู่ที่ 5 ตำบลกกตูม อำเภอเมืองมุกดาหาร จังหวัดมุกดาหาร

๑. การบูรณาการการดำเนินงานร่วมกันทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน โดยเฉพาะการให้ภาคประชาชนในชุมชนมีส่วนร่วมในการดำเนินงาน
๒. การวางระบบการพัฒนาหมู่บ้านตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ของจังหวัดมุกดาหาร ได้แก่
การขับเคลื่อนปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามตัวชี้วัด ๖ X ๒, สร้างกระแสความรู้ ความเข้าใจและความตระหนักในความสำคัญของการดำเนินชีวิตตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
การพัฒนาผู้นำชุมชนตามหลักสูตรผู้นำการพัฒนา เพื่อเป็นแกนหลักการขับเคลื่อนชุมชนเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ
๓. ผู้นำหมู่บ้าน ชุมชนปฏิบัติตนเป็นแบบอย่าง โดยมีบุคคลสำคัญ (ที่ปรึกษา) ในชุมชนให้การสนับสนุน
๔. การคัดเลือกบุคคลต้นแบบด้านต่าง ๆ เพื่อสร้างความภาคภูมิใจและเป็นแบบอย่างแก่ผู้อื่น
๕. การแบ่งคุ้มบ้าน เป็น 6 คุ้ม โดยให้หัวหน้าคุ้มมีการกระจายข่าวสารหรือภารกิจของชุมชนไปดำเนินการ โดยเฉพาะการจัด “หน้าบ้าน น่ามอง” “หน้าบ้านสวย หลังบ้านสวน ในบ้านสะอาด”
๖. การยึดหลักการทำงานร่วมกันโดยไม่เน้นผลกำไรที่เป็นเงิน แต่เน้นให้เกิดกิจกรรมหรือการลงมือปฏิบัติเพื่อเปลี่ยนแปลงวิธีคิด/วิถีชีวิต เช่น การให้แต่ละบ้าน/ครัวเรือนปลูกพืชผักสวนครัว หรือพืชสมุนไพร หรือให้ครัวเรือนต้องทำบัญชีครัวเรือนและมีการรวบรวมทุกเดือน เป็นต้น
๗. การใช้บัญชีครัวเรือนเป็นเครื่องมือหลักในการพัฒนาและปรับเปลี่ยนวิธีคิดของคนในครัวเรือน
๘. การใช้แผนชุมชนเป็นเครื่องมือกำหนดทิศทางการพัฒนาหมู่บ้าน
๙. การจัดให้มีการสืบค้นและสืบทอดภูมิปัญญาของท้องถิ่น ควบคู่กับการเปิดรับความรู้จากภายนอกชุมชน
๑๐. การส่งเสริมให้มีการจัดตั้งกลุ่มกิจกรรมต่างๆ ในทุกมิติของชุมชน ทั้งกลุ่มออมทรัพย์ฯ กลุ่มทอผ้า กลุ่มผู้สูงอายุ กลุ่มสมุนไพร ธนาคารโค กระบือ เป็นต้น
๑๑. การจัดทำข้อตกลงและข้อปฏิบัติร่วมกันในชุมชน
๑๒. การสร้างค่านิยมความพอเพียงร่วมกัน คือ การผลิตสิ่งต่าง ๆ ในชุมชน เป็นไปเพื่อบริโภคหรือใช้สอยในครอบครัวและชุมชนเป็นเบื้องต้น เหลือจึงแบ่งปันหรือขายเป็นรายได้ หรือการสร้างค่านิยมใหม่ เช่น การงดเหล้าในงานศพ เป็นต้น
๑๓. การประเมินความ “อยู่เย็น เป็นสุข”ของหมู่บ้าน หรือ ความสุขมวลรวมของหมู่บ้าน ( GVH) คนในหมู่บ้านมีการประเมินความสุขมวลรวมเพื่อความ อยู่เย็น เป็นสุข แบบมีส่วนร่วม ชาวบ้านมีความรู้ ความเข้าใจ ในการประเมินความสุข มวลรวม คิดเป็นร้อยละ ๗๐ ใช้บัตรคำให้ค่าคะแนน ได้ค่าเฉลี่ย ๘๖ คะแนน คิดเป็น ๔.๒ %
๑๔. มีการสรุปบทเรียน สรุปความก้าวหน้าและประเมินความสำเร็จหรือจุดอ่อนในการพัฒนาชุมชน เพื่อ
กำหนดแผนหรือกิจกรรมพัฒนาในขั้นตอนต่อไป

กลไกในการขับเคลื่อน

๑. คณะกรรมการหมู่บ้านขัวสูง หมู่ที่ 5 และผู้นำชุมชนระดับหมู่บ้าน / ตำบล
๒. ครอบครัวพัฒนา
๓. ปราชญ์สัมมาชีพชุมชน
๔. กรรมการคุ้ม
๕. คณะที่ปรึกษาที่อยู่ในชุมชน รวมถึงเทศบาลตำบลกกตูม
๖. ภาคราชการ/เอกชนผู้สนับสนุน อาทิ ธ.ก.ส. เกษตร สาธารณสุข ปศุสัตว์ กศน. รพ.สต.บ้านขัวสูง โรงเรียนบ้านขัวสูง และสำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอดงหลวง

ผลสำเร็จของการพัฒนา
๑. ประชาชนในบ้านขัวสูง มีความมวลรวมชุมชนเพิ่มขึ้นจากการประเมินความสุขมวลรวม ครั้งที่ ๑ ได้ ๙๐ คะแนน ครั้งที่ ๒ ได้ ๙๕ คะแนน
๒. ประชาชนมีความสามัคคี มีความเกื้อกูล
๓. ประชาชนเกิดความภูมิใจ สามารถถ่ายทอดความรู้สู่ชุมชนอื่น/ผู้สนใจได้

view

 หน้าแรก

 สินค้า

 บทความ

 รวมรูปภาพ

 เว็บบอร์ด

 ติดต่อเรา

view